หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม
ART AND CULTURE MANAGEMENT

โครงสร้างหลักสูตร สำหรับนักศึกษารหัส 66 (คลิกลิงค์เพื่อดูรายละเอียด)
โครงสร้างหลักสูตร สำหรับนักศึกษารหัสอื่นๆ (คลิกลิงค์เพื่อดูรายละเอียด)

เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน หรือเขตวัฒนธรรมล้านนานั้นเป็น ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงปรากฏมีกิจกรรมอันหลากหลาย ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ งานด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม โบราณวัตถุและโบราณ สถาน อุตสาหกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวกับศิลปวัตถุ ศิลปหัตถกรรม และสินค้าที่ระลึก แหล่งบริการ ร้านค้า โรงแรม ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ อุตสาหกรรม และธุรกิจต่างๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชิดหน้าชูตาและสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประชาชน ชาวภาคเหนือตลอดมา แต่ทั้งๆ ที่งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ของภาคเหนือ แต่ไม่ปรากฏมีสถาบันอุดมศึกษาใดๆ ในเขตภาคเหนือเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมมีความมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป บัณฑิตวิทยาลัย โดยความร่วมมือจากคณะวิจิตรศิลป์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เข้าสู่แวดวงงานด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนอุตสาหกรรม ธุรกิจด้านศิลปะและวัฒนธรรม มากขึ้น ซึ่งขอบเขตของหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะ และวัฒนธรรมนั้น จะมีเนื้อหาของหลักสูตรที่มุ่งเน้นการจัดการในเชิงระบบของงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในมิติต่างๆ ซึ่งมีวิธีดำเนินการที่แตกต่างกัน อาทิ งานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมงานด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม งานด้านการตลาดของผลงานทางศิลปะ งานพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ งานศิลปะการแสดง และโรงละคร และงานด้านการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมเป็นต้น

ปรัชญาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ ตลอดจนการค้นคว้า วิจัย และพัฒนา องค์ความรู้ทางด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านศิลปะ และวัฒนธรรมในมิติต่างๆ ให้สามารถรักษาคุณค่าและดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วย เพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
> เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการจัดการงาน > ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในมิติต่างๆให้สามารถรักษาคุณค่า และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
> เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนาวิชาการ > ด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
> เพื่อสร้างมหาบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม

ลักษณะการเรียนการสอน

– การค้นคว้าวิจัยองค์ความรู้ทางด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม
– การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมจากกระบวนการมีส่วนร่วม
– การรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของกิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
– การสร้างคุณธรรม จริยธรรมและจิตอาสาของการดำเนินงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ (สาขาวิชาร่วม)
คณะวิจิตรศิลป์ | คณะศึกษาศาสตร์ | คณะบริหารธุรกิจ และ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่