หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่กำเนิดคงอยู่และเปลี่ยนแปลงควบคู่มากับสังคมมนุษย์ดังปรากฎชัดเจนในประวัติศาสตร์และปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ดนตรีมีบทบาทหน้าที่และความเกี่ยวข้องกับสังคมในทุกมิติ ทั้งด้านประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม สุนทรียภาพ การศึกษา การพัฒนาบุคคล การแพทย์ เศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงการเป็นสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดนตรี) มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เข้าใจ และตระหนักถึงการดำรงอยู่ของดนตรีท่าม กลางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และมุ่งเน้นการจัดการศึกษา และการวิจัยด้านดนตรีเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาองค์ความรู้ จากสิ่งที่ตนสนใจเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิด องค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ทางดนตรี บนพื้นฐานวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น (local and global culture) การคิดเชิงวิพากษ์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม (critical and innovative thinking) รวมทั้งความสามารถทางดิจิตตัลและเทคโนโลยี (digital and technology literacy) อันนำไปสู่การสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและอนาคต
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบการจัดการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรี) เป็นแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ
1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 ตั้งแต่เดือน พฤษจิกายน ถึง มีนาคม
แขนงวิชาที่เปิดรับ
- ดนตรีศึกษา (Music Education)
- การประพันธ์ดนตรี (Music Composition)
- การแสดงดนตรี (Music Performance)
คุณสมบัติของผู้สมัคร (ป.โท)
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา โดยคะแนนค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ต้องไม่น้อยกว่า 2.50
หลักฐานการสมัคร (ป.โท)
ผู้สมัครต้องส่งหลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้
- ใบระเบียนถาวร (Transcript) ในระดับปริญญาตรี
- ในรับรองคะแนนภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ ในกรณีคะแนนภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย เงื่อนไขการพิจารณา ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- หลักฐานการสมัครเพิ่มเติมแต่ละแขนงวิชา ดังนี้
แขนงดนตรีศึกษา
แบบ 1 (ไม่มีการเรียนรายวิชา)
- โครงร่างวิจัยฉบับย่อ (concept paper) หัวข้อวิจัยที่สนใจศึกษา
- ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI หรือ ฐานข้อมูลนานาชาติ อย่างน้อย 1 ชิ้น หรือ ผลงานวิชาการประเภทอื่น ๆ
แบบ 2 (เรียนรายวิชาและวิทยานิพนธ์)
– โครงร่างวิจัยฉบับย่อ (concept paper) หัวข้อวิจัยที่สนใจศึกษา
แขนงการประพันธ์ดนตรี
แบบ 1 และแบบ 2
– ผลงานการประพันธ์ 2-4 ชิ้นที่แสดงเทคนิคและสไตล์ดนตรีของผู้ประพันธ์ เช่น ผลงานเดี่ยว (solo) ผลงานสำหรับวงดนตรี (small or large ensemble) ผลงานอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงผลงานด้านมัลติมีเดีย เป็นต้น ในกรณีที่บทประพันธ์สามารถบันทึกเป็นโน้ตดนตรี (แบบใดก็ได้) ให้ส่งในรูปแบบไฟล์ PDF ที่พร้อมสำหรับการพิมพ์ อาจมีการบันทึกผลงานในรูปแบบไฟล์ mp3 สำหรับเสียงหรือรูปแบบไฟล์ mp4 สำหรับเสียงพร้อมวิดีโอ ไม่ควรส่งผลงานเสียงในรูปแบบ MIDI (เช่น MIDI จาก Sibelius หรือ Finale เป็นต้น) เว้นแต่ผู้ประพันธ์ต้องการใช้เสียง MIDI เป็นส่วนหนึ่งของผลงาน ในกรณีผลงานที่ไม่สามารถบันทึกเป็นโน้ตดนตรีได้ ต้องบันทึกเสียงของผลงานและส่งในรูปแบบไฟล์ mp3 หรือ mp4 พร้อมคำชี้แจ้งสำหรับนักแสดง (ถ้ามี) และคำอธิบายผลงาน
การแสดงดนตรี
แบบ 1 และแบบ 2
– จดหมายรับรอง (จดหมายปิดผนึกหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์-E-mail) จากบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น อาจารย์ผู้สอนเปียโน ศิลปินนักเปียโน เป็นต้น จำนวน 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาแสดงความเห็นเกี่ยวกับทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สมัคร
คุณสมบัติของผู้สมัคร (ป.เอก)
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา โดยคะแนนค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ต้องไม่น้อยกว่า 3.00
หลักฐานการสมัคร (ป.เอก)
ผู้สมัครต้องส่งหลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้
- ใบระเบียนถาวร (Transcript) ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
- ในรับรองคะแนนภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ ในกรณีคะแนนภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย เงื่อนไขการพิจารณา ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- หลักฐานการสมัครเพิ่มเติมแต่ละแขนงวิชา ดังนี้
แขนงดนตรีศึกษา
แบบ 1.1 (ไม่มีการเรียนรายวิชา)
- โครงร่างวิจัยฉบับย่อ (concept paper) หัวข้อวิจัยที่สนใจศึกษา
- ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI หรือ ฐานข้อมูลนานาชาติ อย่างน้อย 2 ชิ้น หรือ ผลงานวิชาการประเภทอื่น ๆ
แบบ 2.1 (เรียนรายวิชาและวิทยานิพนธ์)
– โครงร่างวิจัยฉบับย่อ (concept paper) หัวข้อวิจัยที่สนใจศึกษา
แขนงการประพันธ์ดนตรี
แบบ 1.1. และ 2.1
– ผลงานการประพันธ์ 2-4 ชิ้นที่แสดงเทคนิคและสไตล์ดนตรีของผู้ประพันธ์ เช่น ผลงานเดี่ยว (solo) ผลงานสำหรับวงดนตรี (small or large ensemble) ผลงานอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงผลงานด้านมัลติมีเดีย เป็นต้น ในกรณีที่บทประพันธ์สามารถบันทึกเป็นโน้ตดนตรี (แบบใดก็ได้) ให้ส่งในรูปแบบไฟล์ PDF ที่พร้อมสำหรับการพิมพ์ อาจมีการบันทึกผลงานในรูปแบบไฟล์ mp3 สำหรับเสียงหรือรูปแบบไฟล์ mp4 สำหรับเสียงพร้อมวิดีโอ ไม่ควรส่งผลงานเสียงในรูปแบบ MIDI (เช่น MIDI จาก Sibelius หรือ Finale เป็นต้น) เว้นแต่ผู้ประพันธ์ต้องการใช้เสียง MIDI เป็นส่วนหนึ่งของผลงาน ในกรณีผลงานที่ไม่สามารถบันทึกเป็นโน้ตดนตรีได้ ต้องบันทึกเสียงของผลงานและส่งในรูปแบบไฟล์ mp3 หรือ mp4 พร้อมคำชี้แจ้งสำหรับนักแสดง (ถ้ามี) และคำอธิบายผลงาน
การแสดงดนตรี
แบบ 1.1 และ 1.2
– จดหมายรับรอง (จดหมายปิดผนึกหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์-E-mail) จากบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น อาจารย์ผู้สอนเปียโน ศิลปินนักเปียโน เป็นต้น จำนวน 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาแสดงความเห็นเกี่ยวกับทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สมัคร
ผู้สมัครจะต้องดำเนินการส่งหลักฐานการสมัครภายในวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2565 โดยดำเนินการ ดังนี้
– อัพโหลดหลักฐานการสมัครข้างต้นในระบบรับสมัครของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– ส่งหลักฐานการสมัครข้างต้น ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มาที่ pimonpan.du@cmu.ac.th และ niwat.b@cmu.ac.th
หมายเหตุ : ไฟล์ PDF ที่มีขนาดไม่เกิน 2 MB
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ในวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 16.00 น. ทางเว็บไซต์คณะวิจิตรศิลป์ http://www.finearts.cmu.ac.th/
การสอบ
สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ (เฉพาะสาขาการแสดงดนตรี-เปียโน) และสอบสัมภาษณ์ วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565
รายละเอียดการสอบ | ||
วิชาที่สอบ | วันและเวลาที่สอบ | สถานที่สอบ |
สอบปฏิบัติ (เฉพาะแขนงการแสดงดนตรี-เปียโน)
เตรียมบทเพลงเปียโนเดี่ยว 2 ชิ้น (ไม่ใช่คอนแชร์โต) มีความยาวรวมอย่างน้อย 20 นาที ชิ้นแรกต้องเป็นผลงานในยุคบาโรคหรือยุคคลาสสิก ชิ้นที่สองต้องเป็นผลงานในยุคโรแมนติกหรือศตวรรษที่ 20 หรือผลงานดนตรีร่วมสมัย
การสอบปฏิบัติต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเปียโนและศิลปะการแสดงของผู้สมัคร นอกจากนี้ ผู้ต้องได้รับการทดสอบทักษะการอ่านโน้ตแบบฉับพลัน (sight-reading) บันไดเสียงเมเจอร์ ไมเนอร์ (ฮาร์โมนิกและเมโลดิก) และอาร์เพจจิโอ 4 ออกเทฟ |
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565
รายงานตัว 8.00 น. เริ่มสอบ 9.00 น. เป็นต้นไป โดยเข้าสอบตามลำดับในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ |
โรงละคร หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
สอบข้อเขียน
ทฤษฎีดนตรีและประวัติศาสตร์ดนตรี (ผู้สมัครเลือกทำข้อสอบ 1 ชุด ระหว่างข้อสอบดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย/ดนตรีท้องถิ่น) มีขอบเขตเนื้อหาดังนี้ ข้อสอบชุดที่ 1 (ดนตรีตะวันตก) – ทฤษฎีดนตรีตะวันตก: ความรู้ทางทฤษฎีดนตรีตะวันตก Common-Practice (ศตวรรษที่17 ถึงศตวรรษที่ 19) ของดนตรีคลาสสิกโดยเฉพาะความรู้เรื่องเสียงประสาน โครงสร้างทางดนตรี – ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก: แนวคิดทางดนตรี พัฒนาการของดนตรีตะวันตก และประเภทดนตรีตะวันตกตั้งแต่ยุค Medieval ถึงศตวรรษที่ 20 ข้อสอบชุดที่ 2 (ดนตรีไทยและดนตรีท้องถิ่น) – ความรู้ทางทฤษฎีดนตรีไทยหรือดนตรีท้องถิ่น และเทคนิกการบรรเลง – ประวัติศาสตร์ดนตรีไทยหรือดนตรีท้องถิ่น |
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565
รายงานตัว 13.00 น. เริ่มสอบข้อเขียน 13.30 น. – 14.30 น. |
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ FB1305 (ชั้น 3) คณะวิจิตรศิลป์ |
การสอบสัมภาษณ์ | วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565
เริ่มสอบ 15.00 น. โดยเข้าสอบตามลำดับในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ |
การประกาศผลสอบ
หากผู้สมัครต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ การรับสมัคร เอกสารประกอบการสมัคร
ติดต่อฝ่ายรับสมัครบัณฑิตวิทยาลัย โทร.053-942405-10 หรือ http://www.grad.cmu.ac.th/
หากผู้สมัครต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ สาขาวิชาเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
นางสาวพิมลพรรณ ด้วงฟู โทร. 053-944855 และนายนิวัติ บุญเลิศ โทร 053-944406
ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย (ป.โท)
ภาคปกติ 140,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ภาคพิเศษ 180,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 45,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย (ป.เอก)
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 (ภาคปกติ) 300,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 50,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 (ภาคพิเศษ) 420,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 70,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
หมายเหตุ : ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ (ในเวลาราชการ)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผศ.ดร.คณิเทพ ปิตุภูมินาค | – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดนตรีศึกษา), มหาวิทยาลัยมหิดล
– ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรี), มหาวิทยาลัยมหิดล – ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีสากล), มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ผศ.ดร.เมฆินทร์ เลิศตำหรับ | – Doctor of Musical Arts (Music Performance), University of Oregon U.S.A.
– Master of Music (Piano Performance), Manhattan School of Music, U.S.A. – Bachelor of Music (Piano Performance), University of Oregon, U.S.A. |
อ.ดร.อาศิษฐ์ เกตุจันทรา | – Doctor Musical Arts (Music Composition), University of Missouri – Kansas city U.S.A.
– Master of Music (Music Composition), Brooklyn College, the City University of New York U.S.A. – ศิลปศาสตรบัณฑิต (ดนตรี), มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549. |
โครงสร้างหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 48 หน่วยกิต |
ปริญญานิพนธ์
120899 | ดุษฎีนิพนธ์ | 48 หน่วยกิต |
- กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
120890 วจ.ดต.890 โครงการสร้างสรรค์ | 3 หน่วยกิต | |
120891 วจ.ดต.891 สัมมนาดนตรี | 3 หน่วยกิต | |
และเลือกวิชาสัมมนาเฉพาะแขนงจำนวน 1 วิชาจากกลุ่มนี้ | ||
120892 วจ.ดต.892 สัมมนาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |
120893 วจ.ดต.893 สัมมนามานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |
120894 วจ.ดต.894 สัมมนาประพันธ์เพลง | 3 หน่วยกิต | |
120895 วจ.ดต.895 สัมมนาการแสดงเปียโน | 3 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 2.1
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า | ไม่น้อยกว่า | 66 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาเรียน | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาบังคับ | 27 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาบังคับแกน | 15 หน่วยกิต | |||
120800 วจ.ดต.800 วิธีวิทยาการวิจัยทางดนตรี | 2 หน่วยกิต | |||
120801 วจ.ดต.801 การผลิตดนตรี | 2 หน่วยกิต | |||
120802 วจ.ดต.802 ทิศทางดนตรีในสังคมโลก | 2 หน่วยกิต | |||
120890 วจ.ดต.890 โครงการสร้างสรรค์ | 3 หน่วยกิต | |||
120891 วจ.ดต.891 สัมมนาดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
และเลือกวิชาสัมมนาเฉพาะแขนงจำนวน 1 วิชาจากกลุ่มนี้ | ||||
120892 วจ.ดต.892 สัมมนาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |||
120893 วจ.ดต.893 สัมมนามานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |||
120894 วจ.ดต.894 สัมมนาประพันธ์เพลง | 3 หน่วยกิต | |||
120895 วจ.ดต.895 สัมมนาการแสดงเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาบังคับเลือก ให้เลือกเรียน 12 หน่วยกิตจากกระบวนวิชาแขนงใดแขนงหนึ่งดังต่อไปนี้ | 12 หน่วยกิต | |||
แขนงดนตรีศึกษา | ||||
120810 วจ.ดต.810 ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และนโยบายในดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |||
120811 วจ.ดต.811 การออกแบบหลักสูตรดนตรีในระบบโรงเรียน | 3 หน่วยกิต | |||
120812 วจ.ดต.812 วิธีวิทยาการสอนดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120813 วจ.ดต.813 ดนตรีชุมชนและสังคมวิทยาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงมนุษยดนตรีวิทยา | ||||
120820 วจ.ดต.820 ปัญหาและแนวคิดทางมานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |||
120821 วจ.ดต.821 ดนตรีวิถีโลก | 3 หน่วยกิต | |||
120822 วจ.ดต.822 การวิเคราะห์ดนตรีโลก | 3 หน่วยกิต | |||
120823 วจ.ดต.823 ดนตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงประพันธ์ดนตรี | ||||
120830 วจ.ดต.830 งานประพันธ์ดนตรีร่วมสมัย | 3 หน่วยกิต | |||
120831 วจ.ดต.831 การออกแบบและตรรกะในดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120832 วจ.ดต.832 โครงการประพันธ์ดนตรี 1 | 3 หน่วยกิต | |||
120833 วจ.ดต.833 โครงการประพันธ์ดนตรี 2 | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงการแสดงดนตรี | ||||
120840 วจ.ดต.840 การแสดงเปียโน 1 | 6 หน่วยกิต | |||
120841 วจ.ดต.841 การแสดงเปียโน 2 | 6 หน่วยกิต | |||
120842 วจ.ดต.842 วรรณกรรมเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | ||
โดยเลือกจากกระบวนวิชาเหล่านี้ หรือกระบวนวิชาอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาให้ความเห็นชอบ | ||||
120870 วจ.ดต.870 เคาเตอร์พอยท์ประยุกต์ | 3 หน่วยกิต | |||
120871 วจ.ดต.871 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประพันธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
120872 วจ.ดต.872 การสอนเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
120873 วจ.ดต.873 การสอนวงขับร้องประสานเสียง | 3 หน่วยกิต | |||
120874 วจ.ดต.874 การสอนวงดนตรีและการอำนวยเพลง | 3 หน่วยกิต | |||
120875 วจ.ดต.875 เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120876 วจ.ดต.876 ปฏิภาณในการอ่านและบรรเลงเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
120877 วจ.ดต.877 เปียโนคอนแชร์โต้ | 3 หน่วยกิต | |||
120878 วจ.ดต.878 การแสดงเปียโน 3 | 3 หน่วยกิต | |||
หรือกระบวนวิชาอื่นๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการบริหารประจำหลักสูตรดนตรี
1.2 กระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะ (ถ้ามี) นักศึกษาอาจเลือกเรียนกระบวนวิชานอกสาขาวิชาเฉพาะได้ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา 2. กระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง (ถ้ามี) กรณีที่นักศึกษาขาดความรู้พื้นฐานบางประการที่จำเป็นสำหรับการศึกษา นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาระดับปริญญาตรีขั้นสูง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประจำสาขาวิชาดนตรี |
||||
ข. ปริญญานิพนธ์ | ||||
120898 วจ.ศว.898 ดุษฎีนิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | |||
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1 (แผน ก แบบ ก1)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 36 หน่วยกิต |
ปริญญานิพนธ์
120799 | วิทยานิพนธ์ปริญญาโท | 36 หน่วยกิต |
กระบวนวิชาที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
120790 วจ.ดต.790 โครงการสร้างสรรค์ | 3 หน่วยกิต | |
120791 วจ.ดต.791 สัมมนาดนตรี | 3 หน่วยกิต | |
และเลือกวิชาสัมมนาเฉพาะแขนงจำนวน 1 วิชาจากกลุ่มนี้ | ||
120792 วจ.ดต.792 สัมมนาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |
120793 วจ.ดต.793 สัมมนามานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |
120794 วจ.ดต.794 สัมมนาประพันธ์เพลง | 3 หน่วยกิต | |
120795 วจ.ดต.795 สัมมนาการแสดงเปียโน | 3 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 2 (แผน ก แบบ ก2)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า | 42 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาเรียน | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาในสาขาวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 30 หน่วยกิต | ||
กระบวนวิชาบังคับ | 27 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาบังคับแกน | 15 หน่วยกิต | |||
120700 วจ.ดต.700 วิธีวิทยาการวิจัยทางดนตรี | 2 หน่วยกิต | |||
120701 วจ.ดต.701 เทคโนโลยีทางดนตรี | 2 หน่วยกิต | |||
120702 วจ.ดต.702 ดนตรีและความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย | 2 หน่วยกิต | |||
120790 วจ.ดต.790 โครงการสร้างสรรค์ | 3 หน่วยกิต | |||
120791 วจ.ดต.791 สัมมนาดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
และเลือกวิชาสัมมนาเฉพาะแขนงจำนวน 1 วิชาจากกลุ่มนี้ | ||||
120792 วจ.ดต.792 สัมมนาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |||
120793 วจ.ดต.793 สัมมนามานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |||
120794 วจ.ดต.794 สัมมนาประพันธ์เพลง | 3 หน่วยกิต | |||
120795 วจ.ดต.795 สัมมนาการแสดงเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาบังคับเลือก | 12 หน่วยกิต | |||
แขนงดนตรีศึกษา | ||||
120710 วจ.ดต.710 ปรัชญาดนตรีศึกษา | 3 หน่วยกิต | |||
120711 วจ.ดต.711 การออกแบบหลักสูตรดนตรีในระบบโรงเรียน | 3 หน่วยกิต | |||
120712 วจ.ดต.712 วิธีวิทยาการสอนดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120713 วจ.ดต.713 ดนตรีศึกษานอกโรงเรียน | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงมนุษยดนตรีวิทยา | ||||
120720 วจ.ดต.720 ทฤษฎีและระเบียบวิธีทางมานุษยดนตรีวิทยา | 3 หน่วยกิต | |||
120721 วจ.ดต.721 ดนตรีโลก | 3 หน่วยกิต | |||
120722 วจ.ดต.722 การวิเคราะห์ดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120723 วจ.ดต.723 ดนตรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงประพันธ์ดนตรี | ||||
120730 วจ.ดต.730 ดนตรีในศตวรรษที่ 20 | 3 หน่วยกิต | |||
120731 วจ.ดต.731 โครงสร้างและองค์ประกอบในดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120732 วจ.ดต.732 สไตล์และเทคนิคในการประพันธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
120733 วจ.ดต.733 การประพันธ์เพลงสำหรับสื่อมัลติมีเดีย | 3 หน่วยกิต | |||
แขนงการแสดงดนตรี | ||||
120740 วจ.ดต.740 การแสดงเปียโน 1 | 6 หน่วยกิต | |||
120741 วจ.ดต.741 การแสดงเปียโน 2 | 6 หน่วยกิต | |||
120742 วจ.ดต.742 วรรณกรรมเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
กระบวนวิชาเลือก | ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | ||
120770 วจ.ดต.770 เคาเตอร์พอยท์ประยุกต์ | 3 หน่วยกิต | |||
120771 วจ.ดต.771 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประพันธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
120772 วจ.ดต.772 การสอนเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
120773 วจ.ดต.773 การสอนวงขับร้องประสานเสียง | 3 หน่วยกิต | |||
120774 วจ.ดต.774 การสอนวงดนตรีและการอำนวยเพลง | 3 หน่วยกิต | |||
120775 วจ.ดต.775 เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนดนตรี | 3 หน่วยกิต | |||
120776 วจ.ดต.776 ปฏิภาณในการอ่านและบรรเลงเปียโน | 3 หน่วยกิต | |||
120777 วจ.ดต.777 ดนตรีหลัง ค.ศ. 1989 | 3 หน่วยกิต | |||
ข. ปริญญานิพนธ์ | ||||
120798 วจ.ศว.798 วิทยานิพนธ์ปริญญาโท | 12 หน่วยกิต | |||
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแบบ 1 (แผน ก แบบ ก1)
- เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่องการรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทุกสาขาวิชา
- มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.00 หากค่าเฉลี่ยไม่ถึงให้อยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาดนตรี
- เป็นผู้ที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้
- คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาดนตรี
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแบบ 2 (แผน ก แบบ ก2)
- เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทุกสาขาวิชา
- มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.00 หากค่าเฉลี่ยไม่ถึงให้อยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาดนตรี
- เป็นผู้ที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้
- คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาดนตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตแบบ 1 (แผน ก แบบ ก1)
- เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่องการรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
- มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 หากค่าเฉลี่ยไม่ถึงให้อยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาดนตรี
- เป็นผู้ที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้
- คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาดนตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตแบบ 2 (แผน ก แบบ ก2)
- เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การรับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
- มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.50 หากค่าเฉลี่ยไม่ถึงให้อยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาดนตรี
- เป็นผู้ที่สามารถศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยได้
- คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ บริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาดนตรี
ทั้งนี้หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตเปิดรับนักศึกษาจากทุกสาขาวิชา โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ โดยอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาดนตรี