หลักสูตร

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ 
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN PHOTOGRAPHIC ART

หลักสูตรและกระบวนวิชา (PDF)

ลักษณะการเรียนการสอน
ใช้เวลาการศึกษา 4 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต ศึกษาและ สร้างสรรค์ศิลปะการถ่ายภาพ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจทางด้านการถ่ายภาพ จุดเด่นของเนื้อหาหลักสูตรคือการเรียนการสอนที่ผสมผสานทั้งทางด้านแนวความ คิด ทฤษฎี เทคนิคปฏิบัติ และความคิดสร้างสรรค์ โดยคณาจารย์ประจำ ผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพ หลักสูตรศิลปะการถ่ายภาพเน้นย้ำถึงความสำคัญในการเรียนรู้ที่ตื่นตัว และการแสดงออกส่วนบุคคล ของนักศึกษา รู้จริง คิดเป็น แก้ไขปัญหาได้ สามารถนำความรู้และความสามารถทางศิลปะการถ่ายภาพ ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถชี้แนะ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ภาพถ่ายเพื่อจรรโลงใจต่อสังคมและเป็นผู้สื่อสารที่ดีในทางศิลปะภาพถ่าย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
> ช่างภาพ
> นักตกแต่งภาพ
> กองบรรณาธิการ
> ภัณฑารักษ์
> สไตล์ลิสต์
> นักประวัติศาสตร์ศิลป์
> เจ้าของกิจการร้านถ่ายภาพ

กลับไปข้างบน

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MEDIA ARTS AND DESIGN

หลักสูตรและกระบวนวิชา (PDF)

หลัก สูตรสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชื่อว่าสื่อศิลปะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สื่อ และกระบวนการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือสะท้อนความคิดของผู้ที่ต้องการสื่อสาร เพื่อสนองความต้องการของสังคม และเศรษฐกิจ โดยการบูรณาการวิทยาการก้าวหน้าร่วมไปกับองค์ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆ ทั้งที่เป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นและสากลซึ่งผู้ที่จะสามารถผลิต หรือออกแบบสื่อศิลปะได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพบนพื้นฐานจิตสำนึกในการเอื้อประโยชน์ต่อสังคม และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้นักปฏิบัติการด้านสื่อศิลปะและการ ออกแบบสื่อ ดังที่ได้กล่าวจะต้องมุ่งเน้นการจัดการการเรียนรู้แบบให้ผู้เรียนเป็นศุนย์ กลางสำคัญ โดยทางสาขาวิชาฯได้เน้นการปฏิบัติจริงภายใต้บรรยากาศแห่งการเรียนรู้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มุ่งที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจใน เทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลกระทบในด้านต่างๆต่อ วิถีชีวิตบุคคล เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การออกแบบ ศิลปะ วัฒนธรรม สังคม และวัฒนธรรมโลกาภิวัฒน์ร่วมสมัย มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสื่อ หรือ สื่อศิลปะ ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพ และมีทักษะขั้นสูงซึ่งจะเป็น องค์ความรู้ใหม่ – New Space for Thinking โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสมัย ได้อย่างทัดเทียม กับนานาประเทศ สามารถสร้างสรรค์ วิพากษ์ วิจารณ์ ผลงานสื่อศิลปะและออกแบบสื่อที่มี คุณค่าในลักษณะที่เชื่อมโยงผลกระทบในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้น มีความพร้อมในการ ประกอบอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสำนึกรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตนและสังคม

ลักษณะการเรียนการสอน
> ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
> เป็นหลักสูตรภาดปกติ แบบเหมาจ่าย จำนวนรับทั้งหมด 45 คน
> ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย ตลอดหลักสูตร 240,000.00 บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) > ภาคการศึกษาปกติละ 30,000.00 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) จำนวน 8 ภาคการศึกษา
> การบริหารจัดการเป็นแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) > โดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เป็นไปตามคำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา
> ระบบการจัดการการศึกษาเป็นแบบระบบ ทวิภาค ภาคการศึกษาละ 18 สัปดาห์ > ไม่มีการจัดการการศึกษาภาคฤดูร้อน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคคลากรของประเทศ ให้เป็น นักสร้างสรรค์สื่อ Media Creator มีทักษะขั้นสูง สามารถปรับประยุกต์ และปฎิบัติการ ได้หลากหลายคุณลักษณะ จึงสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ

Media Artist ศิลปินสื่อศิลปะ สามารถสร้างสรรค์ศิลปะ > จากการประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะการใช้สื่อดิจิทัลร่วมสมัย
Media Designer นักออกแบบสมัยใหม่ ที่สามารถบูรณาการ > การประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลร่วมสมัยตอบสนองตลาดแรงงาน ด้านภาพถ่าย > การออกแบบสิ่งพิมพ์ วงการโทรทัศน์ วงการภาพยนตร์ การออกแบบหัตถกรรม > อุตสาหกรรมการออกแบบร่วมสมัย การออกแบบเกมส์เพื่ออุตสาหกรรมบันเทิง > การออกแบบสื่อเชิงโต้ตอบทางการศึกษา การออกแบบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Media Management นักบริหารจัดการสื่อประสมขององค์กรสมัยใหม่ > มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของสื่อต่างๆ > เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับสังคมโลกาภิวัตน์
Media Scholar นักวิจัยทางด้านวัฒนธรรมสื่อร่วมสมัย