หลักสูตร

TA2558_web04

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทย 
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN THAI ART

หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะไทย 2557 pdf

ลักษณะการเรียนการสอน
ใช้เวลาการศึกษา 4 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต ศึกษาแก่นแท้ แห่งภูมิหลังความเป็นมาของตนเอง ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพด้าน การจัดการศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทย รู้จักมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ อย่างรู้ที่มาที่ไปของศิลปวัฒนธรรมล้านนาประเทศไทย และใกล้เคียง เพื่อการประยุกต์ ใช้ได้อย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้รู้จักนำความรู้ทั้งมวลมาสร้างสรรค์ใหม่นำเสนอในรูปแบบใหม่ตาม รสนิยม แต่ละบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญแสดงให้เห็นถึง ความคิด และไหวพริบปฎิภาณของนักศึกษา ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่างสถานการณ์ ตอบสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันได้อย่าง มีคุณค่าและถูกครรลอง และดำเนินชีวิตในสังคมระดับสากลได้อย่างสมภาคภูมิ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
> ครู อาจารย์ สอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
> นักวิจัย นักวิชาการ ที่ผลิตผลงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และล้านนา
> ภัณฑารักษ์ และนักบริหารจัดการด้านศิลปวัฒธรรม
> ศิลปินและนักออกแบบ ที่ผลงานเน้นอัตลักษณ์ไทย
> พนักงานฝ่ายศิลป์ในบริษัทเอกชน ที่มีการใช้องค์ความรู้ หรือข้อมูลงานศิลปะไทย > ในการผลิตผลงานแขนงต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ การออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรม > การออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่น สิ่งพิมพ์ งานโฆษณาและการสื่อสาร เป็นต้น
> ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ > ด้านศิลปะวัฒนธรรม มาใช้ในการผลิต หรืองานบริการ

 

TA2558_web05

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ 
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN

หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบ 2557 pdf

ลักษณะการเรียนการสอน
ใช้เวลาการศึกษา 4 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต ศึกษาเพื่อ เป็นนักออกแบบที่สังคมและตลาดต้องการในด้านต่างๆ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบเครื่องประดับ ออกแบบเครื่องปั้นดินเผาออกแบบกราฟฟิค ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เรียนรู้งานด้านหัตถกรรมท้องถิ่นทางภาคเหนือในทุกแขนง และมีความคิดสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ งานทั้งในรูปแบบ ของผลงาน 2 มิติและผลงาน 3 มิติ สามารถประยุกต์ใช้วัสดุในท้องถิ่นสำหรับการออกแบบสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีแนวความคิดของการออกแบบที่เน้นจากพื้นฐานขององค์ความรู้ทางด้านล้านนา และวัฒนธรรมในท้องถิ่น นวัตกรรม และงานออกแบบสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาผลงานสู่ตลาดสากล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
> นักออกแบบ (Designer)
> นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer)
> หัตถกรรม (Craft)
> หัตถอุตสาหกรรม (Industrial craft)
> อุตสาหกรรม(Industry)
> นักออกแบบเครื่องแต่งกาย (Fashion Designer)
> นักออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Designer)
> นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer)
> นักออกแบบเครื่องเรือน (Furniture Designer)
> นักออกแบบเครื่องปั้นดินเผา (Ceramic Designer)
> นักออกแบบเลขศิลป์ (Graphic Designer) > นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Product Developer)
> เจ้าของกิจการ (Business Owner)
> ผู้กำหนดแนวโน้มผลิตภัณฑ์ (Trend Setter)
> ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ (Product Producer)

 

TA2558_web06

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง (เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2558)
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN MUSIC AND PERFFORMING ARTS

หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง pdf

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง เน้นการศึกษาเรียนรู้ในศิลปะการดนตรีและการแสดงท้องถิ่น และนานาชาติ อันเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปะการดนตรีและการแสดง สามารถทันต่อการพัฒนาของวิทยาการสาขานี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีคุณค่า ถูกครรลอง ตลอดจนดำเนินชีวิตในสังคมระดับสากลได้อย่างสมภาคภูมิ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับศิลปะการดนตรีและการแสดง อันจะทำให้เป็นผู้รอบรู้ มีทัศนคติอันดีงามรู้จักคิด วินิจฉัย มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ซึ่งจะเป็นทางนำคุณประโยชน์มาสู่สังคม
2) มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะการดนตรีและการแสดง สามารถเป็นนักวิจัย นักวิชาการ นัก
วิจารณ์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการดนตรีและการแสดง
3) มีคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคม อันเป็นการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะการดนตรีและการแสดง PDF

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
> ศิลปินนักดนตรีและศิลปะการแสดงที่เข้าใจและมีความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจดนตรีและการแสดงร่วมสมัยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
> นักวิชาการด้านวัฒนธรรมดนตรีและศิลปะการแสดง
> นักบริหารจัดการด้านศิลปะการดนตรีและการแสดง