อำนาจหน้าที่
คณะวิจิตรศิลป์ เป็นองค์กรทางวิชาการชั้นสูง มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการด้านส่งเสริมด้านวิชาการ และวิชาชีพทางด้านศิลปะ ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะ ผลิตผลงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ และเกิดประโยชน์แก่สังคม การบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อตอบสนองการพัฒนาสังคมชุมชน และเพื่อทำนุบํารุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้านล้านนาสร้างสรรค์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551
ภาควิชาศิลปะไทย
ภาควิชาศิลปะไทย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ทฤษฎี และการปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และพัฒนาศิลปะไทยให้คงอยู่และก้าวหน้าต่อไป ภาควิชาศิลปะไทย จำแนกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้
ระดับปริญญาตรี 3 สาขาวิชา
สาขาวิชาศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตด้วยการนำผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีเอกลักษณ์ รูปแบบ และวิธีการเฉพาะตัว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเพณี ศาสนา สังคม และสภาพแวดล้อมของไทยและการนำเอาองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และทรัพยากรที่มีอยู่ในสังคม มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สาขาวิชาการออกแบบ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ อย่างมีเป้าหมาย โดยคำนึงถึงทั้งประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม บริบท และผู้ใช้งาน เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกราฟิก การออกแบบแฟชั่น เป็นต้น
สาขาวิชาศิลปะการแสดง เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตด้านการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านการใช้ร่างกาย เสียง และองค์ประกอบทางการแสดงอื่นๆ ต่อหน้าผู้ชมสด รวมถึงการแสดงในรูปแบบต่างๆ ที่มีการสื่อสารโดยตรงกับผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นละครเวที ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ดนตรี นาฏศิลป์ การเต้นรำ การเล่าเรื่อง การแสดงกายกรรม หรือแม้แต่การแสดงสดในรูปแบบดิจิทัล
ระดับปริญญาโท 1 สาขาวิชา
สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งเน้นศึกษาการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทของศิลปะและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับทักษะการบริหารจัดการที่จำเป็น เพื่อให้สามารถดำเนินงานในภาคส่วนศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะขั้นสูงในการบริหารจัดการองค์กร โครงการ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้งและรอบด้านยิ่งขึ้น
ภาควิชาทัศนศิลป์
ภาควิชาทัศนศิลป์ มุ่งเน้นผลิตศิลปินบัณฑิต จากการศึกษาและฝึกฝนศิลปะเพื่อสื่อสารแนวคิดและอารมณ์ผ่านงานสร้างสรรค์ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนการสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง ภาควิชาทัศนศิลป์ จำแนกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้
ระดับปริญญาตรี จำนวน 4 สาขาวิชา
สาขาวิชาจิตรกรรม มุ่งเน้นการศึกษาองค์ความรู้ ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมตามปัจเจกภาพ สร้างสรรค์ศิลปะอย่างมีอิสระและมีการบูรณาการ เชื่อมโยงความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกในยุคปัจจุบัน เป็นศิลปินและบุคคลากรด้านการสร้างสรรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถให้ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย นำคุณประโยชน์ทางศิลปะสู่สังคม
สาขาวิชาประติมากรรม เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้การศึกษาศิลปะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมอย่างมีคุณค่าทางความงามของสุนทรียภาพ สะท้อนความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมร่วมสมัย สามารถนำความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ได้มาตรฐาน ความเป็นสากล เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล 4.0 เพื่อเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ รวมถึงความสามารถทางด้านศิลปะให้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างผลงาน เผยแพร่ความรู้ทางศิลปะ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อนำคุณประโยชน์ทางศิลปะมาเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคในประเทศสืบไป
สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ เป็นหลักสูตรที่มีการเน้นความสามารถและความชำนาญด้านทักษะทางกระบวนการทางด้านเทคนิคต่างๆ ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี และกระบวนการทางด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ จากการฝึกปฏิบัติจริง ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์ในแต่ละกระบวนการทางด้านเทคนิคที่เป็นสากล เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ มีการบูรณาการหลักสูตรโดยการประยุกต์องค์ความรู้ให้สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงกับตลาดแรงงานและโลกธุรกิจได้ย่างหลากหลาย รวมถึงการบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อรองรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นการศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะโดยการ บูรณาการศาสตร์และศิลปะหลากหลายแขนง เข้าด้วยกัน แทนที่จะจำกัดอยู่เพียงรูปแบบหรือสื่อใดสื่อหนึ่งโดยเฉพาะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สำรวจความสัมพันธ์และจุดร่วมระหว่างศิลปะต่างๆ เช่น ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม ดิจิทัลอาร์ต) ศิลปะการแสดง (ละคร ดนตรี นาฏศิลป์) วรรณกรรม ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสื่ออื่นๆ โดยเน้นการ ทดลอง ผสมผสาน และ สร้างสรรค์รูปแบบศิลปะใหม่ๆ ที่อาจไม่สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่เดียวได้อย่างชัดเจน
ระดับปริญญาโท 1 สาขาวิชา
สาขาวิชาทัศนศิลป์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นศิลปิน ที่เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และนักสร้างสรรค์ในงานศิลปะต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามปัจเจกภาพ มีเสรีภาพ สามารถสร้างสรรค์ศิลปะอย่างอิสระ มีการบูรณาการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกหรือกระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีบริบทของวัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นกรอบ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม นำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อรับใช้สังคมในแนวกว้างและแนวลึก
ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และจัดการเนื้อหา (Content) โดยใช้ สื่อที่หลากหลาย และ หลักการออกแบบ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างประสบการณ์ การนำเสนอข้อมูล การสร้างความบันเทิง หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะ ผสมผสานระหว่าง ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ และ ทักษะการออกแบบสื่อ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับช่องทางและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ โดยครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ จำแนกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้
ระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา
สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีการพัฒนาองค์ความรู้และการบูรณาการระหว่างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ให้เป็นภาพเชิงสร้างสรรค์ผนวกกับแนวคิดในการสร้างงาน ให้มีความหลากหลาย มีคุณค่า และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสื่อต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันกระบวนวิชาจึงมีความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัย รวมถึงการบูรณาการกับศาสตร์และสื่ออื่นๆ เพื่อเพิ่มมิติความหลากหลายของการเรียนรู้
สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ เป็นหลักสูตรมุ่งสร้างสังคมทางวิชาการด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ และวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีศักยภาพการแข่งขันในระดับชาติ และนานาชาติ หลอมรวม ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เข้ากับ หลักการออกแบบสื่อ และ เทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจ มีความหมาย และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทของโลกดิจิทัลและสื่อร่วมสมัย
สำนักวิชาการบัณฑิตและสหวิทยาการศึกษา
สำนักวิชาการบัณฑิตและสหวิทยาการศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อบริหารจัดการและส่งเสริมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงสนับสนุน การศึกษาแบบสหวิทยาการ ในทุกระดับการศึกษา ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงการส่งเสริมแนวทางการศึกษาแบบสหวิทยาการ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ และมีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ จำแนกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องดังนี้
ระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชา
สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ เป็นหลักสูตรที่นำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านศิลปะและการออกแบบร่วมกับการเชื่อมโยงและบูรณาการทั้งมิติทฤษฎีและปฏิบัติการทางสุนทรีที่ได้รับมาเป็นฐานความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถอธิบายกระบวนการคิด การสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีระบบขั้นตอน วิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์และสร้างองค์ความรู้ทางศิลปะและการออกแบบให้ประจักษ์ รวมถึงการนำเสนอเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนได้อย่างเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
สาขาวิชาดนตรี มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการทางดนตรีที่สร้างสรรค์ผลงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและในวงวิชาการ โดยการจัดการศึกษาและการวิจัยด้านดนตรีเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่ตนสนใจได้อย่างอิสระและลึกซึ้ง เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิด องค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ทางดนตรีขั้นสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local and Global Culture) การคิดเชิงวิพากษ์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Critical and Innovative Thinking) ความสามารถทางดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital and Technology Literacy) และสามารถนำองค์ความรู้ใหม่ไปใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมตามบริบทจริงได้อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและอนาคต
ระดับปริญญาโท 2 สาขาวิชา
สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ เป็นหลักสูตรที่นำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาพัฒนา เชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ผลงานภาพพิมพ์ ผลงานประติมากรรม ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัย และผลงานการออกแบบในรูปแบบต่างๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกราฟฟิค การออกแบบเครื่องแต่งกาย ฯลฯ นักศึกษาสามารถดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบผ่านการศึกษา ค้นคว้าคิดวิเคราะห์ข้อมูล อธิบายกระบวนการคิดสู่การสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนตามความสนใจ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญของหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถกำหนดทิศทางในการวิจัยได้ตามความเหมาะสม
สาขาวิชาดนตรี เป็นหลักสูตรมุ่งพัฒนาความเป็นมืออาชีพทางดนตรี โดยจัดการศึกษาและการวิจัยด้านดนตรีเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่ตนสนใจเพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางความคิด องค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ทางดนตรี บนพื้นฐานวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local and Global Culture) การคิดเชิงวิพากษ์และการสร้างสรรค์นวัตรรม (Critical and Innovative Thinking) และความสามารถทางดิจิทัลและเทคโนโล ยี (Digital andTechnology Literacy) อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและอนาคต
ระดับปริญญาเอก 2 สาขาวิชา
สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ เป็นหลักสูตรที่นำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านศิลปะและการออกแบบร่วมกับการเชื่อมโยงและบูรณาการทั้งมิติทฤษฎีและปฏิบัติการทางสุนทรีที่ได้รับมาเป็นฐานความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถอธิบายกระบวนการคิด การสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีระบบขั้นตอน วิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์และสร้างองค์ความรู้ทางศิลปะและการออกแบบให้ประจักษ์ รวมถึงการนำเสนอเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนได้อย่างเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
สาขาวิชาดนตรี เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการทางดนตรีที่สร้างสรรค์ผลงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและในวงวิชาการ โดยการจัดการศึกษาและการวิจัยด้านดนตรีเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่ตนสนใจได้อย่างอิสระและลึกซึ้ง เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิด องค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ทางดนตรีขั้นสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local and Global Culture) การคิดเชิงวิพากษ์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Critical and Innovative Thinking) ความสามารถทางดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital and Technology Literacy) และสามารถนำองค์ความรู้ใหม่ไปใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมตามบริบทจริงได้อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและอนาคต
เป็นหน่วยงานสำคัญที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะวิจิตรศิลป์ ให้บรรลุเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และให้บริการวิชาการแก่สังคม รวมถึงทำนุบำรุงศิลปะล้านนา โดยแบ่งการสนับสนุนออกเป็น 5 หน่วยงาน
- บริหารทั่วไป
- บริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
- บริหารงานวิจัยบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
- นโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา
- การเงิน การคลังและพัสดุ