หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี แบบ 1.1 และ แบบ 2.1
Doctor of Philosophy Program in Music

โครงสร้างหลักสูตร (คลิกลิงค์เพื่อดูรายละเอียด)

ลักษณะการเรียนการสอน
– หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการทางดนตรีที่สร้างสรรค์ผลงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและในวงวิชาการ โดยการจัดการศึกษาและการวิจัยด้านดนตรีเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่ตนสนใจได้อย่างอิสระและลึกซึ้ง เพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิด องค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ทางดนตรีขั้นสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local and Global Culture) การคิดเชิงวิพากษ์และการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Critical and Innovative Thinking) ความสามารถทางดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital and Technology Literacy) และสามารถนำองค์ความรู้ใหม่ไปใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมตามบริบทจริงได้อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบันและอนาคต

หลักสูตร

1. หลักสูตร แบบ 1.1
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

ก. ปริญญานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ข. กิจกรรมทางวิชาการ

2. หลักสูตร แบบ 2.1
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต

ก. กระบวนวิชาเรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
ข. ปริญญานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

แขนง ดนตรีศึกษา  แบบ 1.1/แบบ 2.1 ฐานปริญญาโท ภาคปกติ/ภาคพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา โดยคะแนนค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ต้องไม่น้อยกว่า 3.00

แขนง การประพันธ์ดนตรี แบบ 1.1/แบบ 2.1 ฐานปริญญาโท ภาคปกติ/ภาคพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา โดยคะแนนค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ต้องไม่น้อยกว่า 3.00

แขนง การแสดงดนตรี แบบ 1.1/แบบ 2.1 ฐานปริญญาโท ภาคปกติ/ภาคพิเศษ
คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. รับเฉพาะเครื่องมือเอกเปียโน
2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา โดยคะแนนค่าลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ต้องไม่น้อยกว่า 3.00

ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย

ภาคปกติ (เรียนจันทร์ – ศุกร์) 300,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 50,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์ – อาทิตย์) 420,000 บาท ต่อ หลักสูตร / 70,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
> ครูสอนดนตรี/อาจารย์ดนตรี ในสถาบันการศึกษาภาคบังคับหรืออุดมศึกษา
> นักประพันธ์ดนตรี/นักดนตรี
> นักวิชาการดนตรี/นักการจัดการดนตรี ในหน่วยงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งภาคราชการและเอกชน เช่น สำนักงานวัฒนธรรม
> ผู้ประกอบการด้านดนตรี วัฒนธรรม และบันเทิง