
What is FOFA CMU FEST
Message from Dean
FOFA CMU’s Vision – Mission – Core Value
Introduce Executive team
Upcoming Event
1. Thesis Exhibition นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ – ดุษฎีนิพนธ์
3. มหกรรมดนตรีลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ 2566 X CHIANGMAI BLOOMS 2023
7. นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา และ Open House
Summary
What is FOFA CMU FEST
โครงการเทศกาลวิจิตรศิลป์ (FOFA CMU ART FESTIVAL) จัดขึ้นโดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในลักษณะนิทรรศการกลุ่มและเดี่ยวร่วมกัน จากแต่เดิมที่แต่ละหลักสูตรจะแยกจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานบนพื้นที่และช่วงเวลาแตกต่างกันไป ในปีนี้คณะวิจิตรศิลป์มีความตั้งใจที่จะนำผลงานการสร้างสรรค์ศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์ มานำเสนอในรูปแบบของเทศกาลศิลปะที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งหวังว่าการจัดดำเนินการนิทรรศการนำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ในรูปแบบเทศกาลศิลปะในครั้งนี้จะได้รับผลตอบรับที่ดีและมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาโครงการไปสู่เทศกาลศิลปะระดับนานาชาติเต็มรูปแบบที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นในปีต่อไป
ในการแถลงข่าวครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณะชนรับรู้ถึงกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา รวมถึงแผนการดำเนินงานและภารกิจของคณะวิจิตรศิลป์ที่มีหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนสังคมด้วยความคิดสร้างสรรค์และผลงานศิลปะ ในการนี้คณะวิจิตรศิลป์หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้รักศิลปะรวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาที่กำลังวางแผนหรือมีความสนใจศึกษาต่อทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตัวผลงานที่เป็นภาพสะท้อนผลลัพธ์การเรียนการสอนทางด้านศิลปะของคณะวิจิตรศิลป์
ผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานในนิทรรศการจากหลักสูตรต่าง ๆ ตลอดระยะเวลากว่า 90 วันที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม 2566 โดยกำหนดการและรายละเอียดนิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาทั้ง 9 หลักสูตรสามารถติดตามได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานแถลงข่าวโครงการเทศกาลวิจิตรศิลป์ (FOFA CMU ART FESTIVAL 2023) ยังเป็นเวทีแนะนำกลุ่มผู้บริหารชุดใหม่ของคณะวิจิตรศิลป์ที่เข้ามาสานต่อพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งปัจจุบัน “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ได้ผนวกรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อต่อยอดเอกลักษณ์ท้องถิ่นของล้านนามาใช้เป็นต้นทุนสำคัญเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ตอบสนองความต้องการของตลาดเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม
คณะผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์ นำทีมโดยคณบดีคณะวิจิตรศิลป์อันได้แก่รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เกษรเกศรา และรองคณบดีอีก 4 ท่าน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพันธ์ จันทร์หอม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน รองศาสตราจารย์ ดร.อัษฎา โปราณานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ได้ร่วมแถลงข่าวกิจกรรมและสื่อสารกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับทิศทางของคณะวิจิตรศิลป์ โดยมุ่งส่งเสริมคุณภาพทางวิชาการ ตอบสนองโจทย์ความต้องการของสังคมและชุมชน รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติตามแผนและนโยบายสำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมสังคมและชุมชนให้พัฒนาอย่างยั่งยืน
ในช่วงท้ายของงานแถลงข่าวยังมีเวทีเสวนาโดยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 9 หลักสูตรรวมถึงตัวแทนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามาร่วมนำเสนอรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละนิทรรศการ กิจกรรมการแถลงข่าวในครั้งนี้จบลงด้วยการสื่อสารแผนและนโยบายของทางคณะวิจิตรศิลป์ รวมถึงชุดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอด 90 วันของเทศกาล และยิ่งไปกว่านั้น การแถลงข่าวในครั้งนี้ยังเป็นการเปิดตัวโครงการที่มีชื่อเสียงของคณะวิจิตรศิลป์อย่าง “ลูกทุ่งวิจิตรฯ” ที่ห่างหายไปนานเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ปีนี้จึงเป็นปีที่น่ายินดีที่คอนเสิร์ตในตำนานนี้จะกลับมามีชีวิตและสร้างความเพลิดเพลินให้กับชาวเชียงใหม่อีกครั้ง
โครงการเทศกาลวิจิตรศิลป์ คือเทศกาลที่นำเสนอชุดของนิทรรศการศิลปนิพนธ์ที่จัดแสดงงานศิลปะของ 9 หลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะวิจิตรศิลป์ นิทรรศการแต่ละงานจะถูกจัดแสดงทั้งในหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบนพื้นที่สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่หลายแห่ง โดยในแต่ละนิทรรศการประกอบด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ออกแบบมาให้มีความหลากหลาย ตอบสนองกลุ่มผู้สนใจที่แตกต่างกัน เป้าหมายของการรวมนิทรรศการทั้งหมดเข้ามาไว้ในรูปแบบเทศกาลศิลปะก็เพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง เพื่อขยายขอบเขตของกิจกรรม รวมไปถึงการพัฒนาโครงการเทศกาลเพื่อสร้างความร่วมมือกับนักเรียน นักศึกษา ประชาชน รวมถึงสถาบันหรือองค์กรทั้งในและต่างประเทศที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในอนาคต
“เทศกาลวิจิตรศิลป์ FOFA CMU ART FESTIVAL 2023” นำเสนอนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาทั้ง 9 หลักสูตร ซึ่งมีความหลากหลายตามแนวคิดที่กำหนดขึ้นโดยนักศึกษาของแต่ละหลักสูตร
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้แนวคิด “ACE (Ace of Pentacle)” นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้แนวคิด “Mads Degree Show บันไดงู (Ban Di Ngū)” นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 11 – 14 มีนาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้แนวคิด “Thesis exhibition: W8” นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 23 - 27 มีนาคม 2566 จัดแสดงงานตาม site specific ต่าง ๆ เช่น โรงแรมศรีประกาศ ศูนย์การค้าเมญ่า วัดอุโมงค์ เป็นต้น
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ที่นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ในวันที่ 1 เมษายน 2566 ณ โรงละคร หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้แนวคิด “เจิดจรัส (แจ่มแจ้งในงานศิลป์)” นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 ณ think park
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้แนวคิด “Ouch! Exhibition” นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาการออกแบบ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 5 เมษายน 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2566 ณ บ้านอาจารย์เทพศิริ ซอยวัดอุโมงค์
-
นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ จิตรกรรม และประติมากรรม ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ ระหว่างวันที่ 8 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
นิทรรศการแสดงผลงานดุษฎีนิพนธ์ นำเสนอผลงานโดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารและรายละเอียดกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ https://www.finearts.cmu.ac.th/ และ https://cmu.to/fofafes23
Message from Dean
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดโครงการเทศกาลวิจิตรศิลป์ (FOFA CMU ART FESTIVAL) ขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงคณะวิจิตรศิลป์ให้กับสาธารณชนให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงผู้ที่มีความสนใจศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ และในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ โดยในงานแถลงข่าวครั้งนี้เป็นการประชาสัมพันธ์กำหนดการจัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาสาขาวิชาทั้ง 9 สาขา ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม 2566 รวมถึงการแสดงผลงานบางส่วนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
โดยในวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิจิตรศิลป์ จัดให้มีการแถลงข่าว ประกอบด้วยเวทีให้ตัวแทนนักศึกษาจากทุกสาขาวิชาได้แสดงความสามารถ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อีกทั้ง คณะผู้บริหาร คณะวิจิตรศิลป์จะกล่าวประชาสัมพันธ์และสื่อสารเกี่ยวกับทิศทางของคณะวิจิตรศิลป์ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนและส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม และมากไปกว่านั้นยังสร้างประโยชน์โดยตรงที่จะเกิดแก่นักศึกษา คณาจารย์ ผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้การนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในทุกสาขาวิชาของคณะวิจิตรศิลป์ที่จัดแสดงบนพื้นที่สาธารณะ และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบนั้นจะถูกออกแบบให้ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างหลากหลาย โดยสร้างการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมที่ประชาชน สถาบันหรือองค์กร ให้สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปะ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไป
และคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญชวนผู้ที่มีสนใจในศิลปะและการออกแบบเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ “เทศกาลวิจิตรศิลป์ FOFA CMU ART FESTIVAL 2023” โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้กับนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้แนวคิดที่หลากหลายและได้เพลิดเพลินผ่านผลงานศิลปะในนิทรรศการเหล่านี้
FOFA CMU’s Vision – Mission – Core Value
วิสัยทัศน์ (Vision)
คณะวิจิตรศิลป์เป็นสถาบันการศึกษาศิลปะอันดับ 1 ของไทย องค์กรแห่งความสุข รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยนวัตกรรม
พันธกิจ (Mission)
-
-
-
-
ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพด้านศิลปะ และวัฒนธรรม
-
ผลิตผลงานสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรมทางศิลปะ การออกแบบและวัฒนธรรม เพื่อเกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม
-
บริการทางวิชาการแก่สังคม
-
ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
-
-
-
ค่านิยมหลัก (Core Value)
ART2S
A = Arts สร้างสรรค์ศิลปะ
R = Research วิจัย
T = Transparency ความโปร่งใส
T = Technology เทคโนโลยี
S = Social Collaboration ความร่วมมือกับชุมชน
วัฒนธรรมองค์กร “Together we RISE”
Introduce Executive team
ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์
รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เกษรเกศราคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ |
|||||||
รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพันธ์ จันทร์หอม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน |
||||||
รองศาสตราจารย์ ดร.อัษฎา โปราณานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
รองศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ |
||||||
รองศาสตราจารย์อุดม ฉิมภักดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
อาจารย์ ดร.สราวุธ รูปิน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ |
||||||
|
|||||||
นางสาวสุลาลักษณ์ ขาวผ่องเลขานุการคณะวิจิตรศิลป์ |
Upcoming Event
Thesis Exhibition นิทรรศการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ – ดุษฎีนิพนธ์
1
ภาควิชา สื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ สาขาวิชา การถ่ายภาพสร้างสรรค์
นิทรรศการ "ACE ART THESIS IN PHOTOGRAPHY EXHIBITION (ACE Thesis Exhibition)"
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2566
หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันเปิดนิทรรศการ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.00 น.
จำนวนผลงาน 49 ผลงาน ทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่ Fine Arts, Landscape, Fashion, Still Life, Special Technique และ Video
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
“ACE” of Pentacles เป็นหนึ่งในไพ่ชุดเล็กของไพ่ทาโรต์ สื่อถึงโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นใหม่ หรือการได้รับโอกาสใหม่ที่จะนำไปสู่ความมั่นคงในอนาคต อีกทั้งคำว่า”ACE” ยังมีความหมายว่า ตัวยง ตัวเต็ง หรือหนึ่ง และเพื่อให้คำว่า ”ACE” สื่อถึงนิทรรศการของพวกเรามากขึ้น ในแต่ละตัวอักษรจึงมีความหมายซ่อนอยู่
A คือ Art หมายถึง ศิลปะ
C คือ Creative หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
E คือ Exhibition หมายถึง นิทรรศการ
นี่จึงเกิดเป็นนิทรรศการศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ ที่จะแสดงความเป็นหนึ่งในด้านต่างๆเพื่อสร้างโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นใหม่ ภายใต้นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ACE ART THESIS IN PHOTOGRAPHY EXHIBITION
การเป็น ACE ในเรื่องราวของตนเองทำให้เกิดเหตุการณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสุขหรือความเศร้า สดใสหรือหมองหม่น ดีหรือร้าย สว่างหรือมืดมน ทุกสิ่งล้วนดำเนินไปเหมือนคู่ขนาน ที่ต่อให้ตรงกันข้ามหรือแตกต่างกันก็สามารถร่วมทางหรืออยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนได้ ACE ART THESIS IN PHOTOGRAPHY EXHIBITION จึงไม่ใช่เพียงการสร้างเรื่องราวของตนเอง แต่ยังเป็นการปิดฉากวัยอุดมศึกษาไปสู่อนาคตข้างหน้าที่ไม่มีความหมายแน่นอน ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือนการสุ่มไพ่ดูดวงว่ามันจะนำพาเราไปสู่เส้นทางใดต่อไป
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา
(หลักสูตร) โครงการที่สาขาดำเนินการนอกจากจะมีโครงการนิทรรศการศิลปนิพนธ์ภาพถ่ายแล้ว ยังมีโครงการพื้นที่นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ (Photoart Space) ซึ่งเป็นการคัดเลือก และรวบรวมผลงานจากการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 3 ซึ่งจะจัดพร้อมกันกับโครงการนิทรรศการคณาจารย์สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ ในวันที่ 3 - 17 มีนาคม 2566 ณ โกดังจริงใจ (ในโครงการจริงใจมาร์เก็ต) โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบวางแผนรูปแบบในการนำเสนอจัดนิทรรศการเพื่อให้ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง
เว็บไซต์ https://ace.finearts.cmu.ac.th/
2
ภาควิชา สื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ สาขาวิชา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
นิทรรศการ Mads Degree Show บันไดงู (Ban Di Ngū)
11-14 มีนาคม 2566 หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนผลงาน 35 ผลงานโดยแบ่งแขนงออกเป็น Moving Image , Sound , Ethnography , Cultural Interactive and Communication, Design และ Cognitive and sensory ethnography ตามความสนใจของนักศึกษา
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
นิทรรศการศิลปะนิพนธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อในปีนี้ภายใต้หัวข้อ Mads Degree show :บันไดงู โดยเป็นการวิพากย์วิจารณ์ชีวิตประจำวันของเรา ที่เปรียบเสมือนบอร์ดเกมบันไดงู เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบสังคมที่เราพบเจอซึ่งเสมือนดั่งการทอยลูกเต๋า ที่จะให้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขและวิสัยทัศน์ของสังคมนั้น ๆ โดยภายในงานจะมีงานศิลปะจากนักศึกษาหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งาน sculpture ไปจนถึง mixed media และ interactive media
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา
สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อเน้นการศึกษาระหว่างทฤษฏีและการฝึกปฏิบัติโดยเน้นประเด็นการศึกษาเชิงวิพากษ์ ที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะ ผสมผสานกรอบแนวคิด ทฤษฏีและเทคโนโลยีสื่อ ทั้งแบบดั้งเดิม (Old Media) สื่อใหม่ (New Media) โดยนักศึกษาสามารถนำเสนอผลงานได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเปน Sound Design, Installation Art เป็นต้น ปฏิบัติงานจริง
IG: https://www.instagram.com/tv/CoE9kKCAcKg/?igshid=Zjc2ZTc4Nzk=
FB: https://www.facebook.com/madsdegreeshow
3
ภาควิชา ทัศนศิลป์ สาขาวิชา สหศาสตร์ศิลป์
นิทรรศการ Thesis exhibition: W8
วันที่ 23-27 มีนาคม 2566 สถานที่จะเกิดภายในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ site specific ตามแต่ละแนวคิดของผลงานบุคคล เช่น โรงแรมศรีประกาศ ศูนย์การค้าเมญ่า วัดอุโมงค์ เป็นต้น
จำนวนผลงาน 17 ชิ้น
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
W8 นิทรรศการจบการศึกษาศิลปบัณฑิต โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การผสมผสานระหว่างแนวคิดซึ่งเป็นปัจเจกสู่ความเป็นสาธารณะ อันว่าด้วยฐานของกาล เทศะ พื้นที่ เพื่อปลดปล่อยชุดความคิด มุมมอง ผ่านการกระทำสู่การตกผลึกด้วยรูปแบบผลงานสร้างสรรค์ โดยการใช้สหวิทยาการเพื่อความเป็นไปได้ ณ ขณะปัจจุบัน(?) บอกเล่าผ่านกระบวนการทำงาน และความเกี่ยวเนื่องระหว่างทุกสรรพสิ่งผู้ดำรงอยู่บนนิเวศแห่งการดำเนินไปของห้วงชีวิต
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา
สหศาสตร์ศิลป์ในฐานะศาสตร์ศิลปะร่วมสมัย สะท้อนถึงความเชื่อมโยงร่วมสหวิชาการคู่เคียงไปกับข้อมูล ประสบการณ์ และสิ่งส่วนประกอบร่วม ตามกรอบแนวคิดในหลักการขอบเขต กาล/เทศะ และพื้นที่ นำไปสู่การตีความในเชิงลึก สืบเนื่องจากผลพวงของการผลิตสร้างศาสตร์ศิลปะซึ่งสะท้อนจากภาคส่วนสังคม ปรัชญา และวัฒนธรรม ยึดโยงกันภายใต้สภาวะการณ์ที่ขับเคลื่อนกับหลักวิชาการที่สะท้อนถึงสัมพันธภาพในความเป็นมนุษย์กับศาสตร์วิชาการอื่นโดยเปิดทิศทางความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัดประเภทและวิธีการ
สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์สร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิชาการแบบอย่างสหศาสตร์ศิลป์ นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคทางศิลปะได้อย่างหลากหลาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และสร้างสรรค์งานศิลปะ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวความคิดผสมผสานและบูรณาการกับองค์ความรู้ต่างๆ เช่น ศิลปะคอนเซ็บช่วล สื่อผสม ศิลปะจัดวาง ภาพยนตร์ หนังสั้น ภาพถ่าย เสียง หนังสือ เอกสารงานวิจัย บทความ ฯลฯ ไม่จำกัดประเภทและวิธีการ
FB: https://ne-np.facebook.com/profile.php?id=100080888585739
4
ภาควิชา ศิลปะไทย สาขาวิชา ศิลปะการแสดง
นิทรรศการ Knock
วันที่ 1 เมษายน 2566 หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
Her's life ดนตรีป๊อปแจ๊สที่เล่าเกี่ยวกับชีวิตหญิงสาว แนวคิดของงานคือต้องการนำวิชาธีสิสมาต่อยอดและได้ศึกษาเรื่องการประพันธ์เพลงป๊อปแจ๊สของนาย ธนากร กาญจนสุกร์ จึงได้นำมาต่อยอดเป็นเพลงป๊อปแจ๊สของตัวนักศึกษาเองที่เล่าถึงชีวิตของผู้หญิงคนนึงผ่านเพลง ในเพลงแรกจะเล่าถึงชีวิตวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความสุขและความฝัน ในเพลงที่สองจะเล่าถึงชีวิตวัยรุ่นที่ต้องมาพบเจอว่าความสุขนั้นไม่ได้ง่ายเสมอไปไม่ได้เป็นแบบที่หวังในวัยเด็ก และในเพลงสุดท้ายจะเล่าถึงชีวิตวัยทำงานที่พูดถึงการยอมรับความจริงในชีวิต เป็นการแสดงละครที่ดัดแปลงมาจากบทละครต้นฉบับและใน the musical นั้น นักศึกษาทั้งแต่งบทละคร แต่งเพลง ออกแบบชุด ออกแบบไฟ ออกแบบท่าเต้น และทำการจัดการทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบของละครด้วยตัวของนักศึกษาเอง
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา
หลักสูตรสาขาได้มีการจัดการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการสอนเรื่องการจัดไฟ พื้นฐานดนตรี การเรียนการแสดง การจัดการ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการแสดงทั้งสิ้น จะเรียนครอบคลุมในทุกแขนกของการแสดง เช่น ดนตรี คอสตูม เขียนบท ละครตะวันตก ละครเอเชีย และอื่นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ในงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้คิดวิเคราะห์ และออกแบบการแสดงที่ผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษามา และต่อยอดในอาชีพในอนาคตได้
5
ภาควิชา ศิลปะไทย สาขาวิชา ศิลปะไทย
นิทรรศการ แจ่มจรัส CHAEM CHARAT
วันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 ณ Think Park Chiang Mai
จำนวนผลงาน 19 ชิ้น
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
Project in Thai Art CMU 2023 แจ่มจรัส
" แจ่มแจ้งในงานศิลป์ ” "สรรค์สร้างภูมิปัญญา สู่งานศิลปะไทย" ที่มีคุณค่าดั่งความงามและส่องแสงแวววาวราวกับดาวบนฟากฟ้า ที่เปรียบเสมือนเพชร ขอเชิญพบกับความหลากหลายทางศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของผลงานการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แขนงการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม สาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากแนวคิดนักศึกษา สู่ ผลงานที่มีความหมาย 6 ประเภท ดังนี้
1. Accessories Design
2. Fashion Design
3. Furniture Design
4. Packaging Design
5. Architecture
6. Media Art
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
เป็นหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะไทย วัฒนธรรมไทยล้านนา ครอบคลุมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนประวัติศาสตร์ศิลป์การ จัดการศิลปวัฒนธรรม อาศัยกระบวนการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติการณ์ การวิจัยและสร้างสรรค์สู่ การผลิตบัณฑิตทางศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีองค์ความรู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นนักนวัตกรรมสมัยใหม่
FB: https://www.facebook.com/ProjectInThaiArtCMU/
ภาควิชา ศิลปะไทย สาขาวิชา ศิลปะไทย 2
วันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2566 ณ บ้านอาจารย์เทพศิริ ซอยวัดอุโมงค์
จำนวนผลงานที่แสดง: 10 ผลงาน
6
ภาควิชา ศิลปะไทย สาขาวิชา การออกแบบ
นิทรรศการ Ouch! Exhibition
วันที่ 31 มีนาคม ถึง 5 เมษายน 2023 เวลา 9 โมง ถึง 4 โมงเย็น (09.00-16.00 น.)
จำนวนผลงาน 55 ผลงาน (จำนวนผลงานทั้งหมดมากกว่า 50 ผลงาน)
แนวคิด ธีมงาน คำอธิบายของนิทรรศการ
ธีมงานจะพูดถึงยุค y2k ในปี 2000 โดยตัว y ย่อมาจากคำว่า year และ2k ที่แปลว่า 2000 และปีเกิดของนักศึกษาชั้นปี 4 ส่วนมากธีมงานจะเล่าเรื่องราวของนักศึกษาที่ติดเกาะออกแบบ ที่ต้องเอาตัวรอดจากอุปสรรคตลอดระยะเวลาที่ติดบนเกาะออกแบบมา 4 ปี
โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์ญี่ปุ่นในยุค y2k ชื่อดัง เรื่อง Battle Royal เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียนที่กำลังศึกษาในช่วงวิกฤตการทางการเมืองของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้ใหญ่ต่างพากันกำจัดนักเรียนด้วยการพานักเรียนไปปล่อยที่เกาะร้าง และเล่นเกมเอาชีวิตรอดหรือที่เราเรียกว่าเกมเซอร์ไววัล ด้วยวิธีฆ่าเพื่อกำจัดกันเองในกลุ่มนักเรียน ซึ่งมีนักเรียนคนเดียวที่จะเป็นผู้ชนะ ต้องรอดชีวิตจากการถูกฆ่า
งานนิทรรศการนี้เลือกอ้างอิงมาจากเรื่อง Battle Royals เพราะในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานักศึกษาออกแบบประสบปัญหาการเรียนออนไลน์ ที่ไม่ได้ใช้งานสตูดิโอ ความเจ็บปวดจากภาวะกดดัน ไม่ได้เจอเพื่อน อุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียนออนไลน์ แต่ต้องเอาตัวรอดจากอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้
คอนเซปงานจะมีเกาะใหญ่อยู่หนึ่งเกาะ คือเกาะออกแบบ และแบ่งเป็นอีก 4 เกาะ คือ เกาะกราฟิก เกาะโพรดัก เกาะเซรามิก และเกาะแฟชั่น สื่อถึงเมเจอร์ตัวจบธีสิสที่จะโชว์งานนิทรรศการนี้
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา (ที่ต้องการประชาสัมพันธ์)
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ฝั่งออกแบบโพรดัก ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โพรดัก เซรามิก ฝั่งออกแบบแฟชั่น ได้แก่ แฟชั่น เทกไทล์ จิวเวอร์รี่ เป็นต้น มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญางานหัตถกรรมมาเป็นฐานในการออกแบบและฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษา เน้นการฝึกปฏิบัติทักษะเฉพาะทาง : ไม้, ผ้า, โลหะ, เซรามิก, ผลิตภัณฑ์ ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบทั้งในและต่างประเทศตลอดจนท้องถิ่นใน Studio ที่มีประสิทธิภาพมาตรฐานสากล
7
ภาควิชา ทัศนศิลป์ สาขาวิชา จิตรกรรม
ข้อมูลหลักสูตร/สาขา (ที่ต้องการประชาสัมพันธ์)
รู้แบบการเรียนการสอน, ลักษณะแนวงาน, การนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้และต่อยอดในอนาคต, การนำศิลปะมาสร้างสรรค์ต่อยอดในอาชีพ
8
ภาควิชา ทัศนศิลป์ สาขาวิชา ประติมากรรม
FB: https://www.facebook.com/people/Sculpture-Department-Fine-Arts-Chiang-Mai-University/100080468616818/
9
ภาควิชา ทัศนศิลป์ สาขาวิชา ภาพพิมพ์
นิทรรศการ Thesis Exhibition ภาควิชาทัศนศิลป์ คระวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน เมษายน - พฤษภาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10
นิทรรศการผลงานดุษฎีนิพนธ์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. อุสุมา พันไพศาล
Usuma Punpaisan
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
ศิลปะสื่อผสมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความหลากหลายทางเพศภายใต้แนวคิด "โลกของฉัน"
Mixed Media Art Inspired by Gender Diversity Under the Concept of "My World"
2. กฤษกรณ์ บัวเต้า
Kisskon Buatao
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
สิ่งลี้ลับและคุณค่าของความศรัทธา ผ่านศิลปะการจัดวาง
The Mystery and Value of Faith Installation Art
3. ปารย์ อิรนพไพบูลย์
Parn Iranoppaiboon
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
ภูมิทัศน์ใจ : ศิลปะจัดวางเพื่อการรับรู้ถึงสภาวะความผ่อนคลาย
Soulscape : Installation Art for Awareness of Inner Relief
กำหนดการจัดแสดง กรกฎาคม 2566
ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้น 1
Link: https://www.facebook.com/people/PhD-Arts-Design-Fine-Arts-CMU/100057179330998/
กิจกรรมงานลาน INTER เหน็ด
กิจกรรมที่สโมสรนักศึกษาภายในธีม Y2K จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณลานหน้าคณะวิจิตรศิลป์ ประกอบด้วยตลาดนัดศิลปะที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจศิลปะเปิดบูทนำเสนอผลงานของตน และ กิจกรรมสันทนาการด้านดนตรีไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมรำวง ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และการแสดงดนตรีสดในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ในงานยังมีการแนะนำ “ลูกทุ่งวิจิตร” ที่ทุกคนรอคอย
ติดตามข้อมูลกิจกรรมได้ที่:
Link: https://www.facebook.com/people/Inter-เหน็ด/
มหกรรมดนตรีลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ 2566 ในงานบลูมส์บีท CHIANGMAI BLOOMS 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
ทีมงานลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ร่วมกับเทศกาล CHIANGMAI BLOOMS 2023 ร่วมจัดคอนเสิร์ตดนตรีลูกทุ่งในแบบฉบับของลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ในตำนานในงาน Blooms beat Chiang Mai blooms 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ 2566 ตอน "ลูกทุ่งเบิกบานตระการย้อยกิ่ง" วันที่เสาร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ สวนดอกไม้ i love flower farm อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
บัตรมีจำหน่ายแล้วที่ Eventpass เปิดระบบ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป พร้อมพิธีเปิดเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ และเริ่มกิจกรรมเชียงใหม่บลูมส์ 2023 เนื่องจากกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นเพียงส่วนนึงของการจัดหารายได้สมทบทุน ในการเฉลิมฉลอง 40 ปี ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ ของคณะวิจิตรศิลป์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ทางคณะผู้จัดงานจึงมีที่นั่งให้ทุกท่านที่สนใจเพียงแค่ 1,000 ที่
ลิ้งค์สำหรับขายบัตร https://tickets.eventpass.co/
#ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
อำนวยการผลิต Chiang Mai Blooms
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
TCEB Thailand Conventions
INDEED CREATION CO.,LTD
Link: https://www.facebook.com/lukthung.vijit
กิจกรรมรับน้องรถไฟ
กิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์ บรรยากาศอบอุ่นกิจกรรมแรกที่น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะได้เข้าร่วม โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสโมสรนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัย ร่วมกันต้อนรับน้องใหม่ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะจอดเทียบชานชาลาที่สถานีรถไฟลพบุรี สถานีรถไฟนครสวรรค์ สถานีรถไฟพิษณุโลกและสถานีรถไฟลำปาง ในแต่ละสถานีที่ขบวนรถไฟเคลื่อนผ่านจะจอดประมาณ 20 นาที นักศึกษาใหม่จะได้สัมผัสบรรยากาศความอบอุ่นของลูกช้างที่จะมีรุ่นพี่นักศึกษาเก่า มช. นำน้ำดื่ม ขนม อาหารและรอยยิ้ม ร่วมให้กำลังใจ รอส่งน้องๆ ในแต่ละจังหวัด เพื่อเดินทางสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นบรรยากาศความทรงจำของประเพณีรับน้องรถไฟที่ชาวลูกช้าง มช. มีให้กันอย่างเสมอมา
ในปีการศึกษา 2566 นี้ เราจะได้พบกับบรรยากาศนี้ก่อนเปิดเทอม 1 ในเดือนมิถุนายน
ส่วนกำหนดการทางการนั้น ทาง มช. จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วกันอีกครั้ง
ติดตามข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้ที่
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
พิธีไหว้ครูคณะวิจิตรศิลป์
สโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์จะได้ร่วมกันจัดงานยกขันตั้งไหว้ครูศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประจำทุกปี ด้วยบรรยากาศอันอบอุ่นในรูปแบบล้านนา รวมสายใยของศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ที่จะได้มาพบปะไหว้สาครูบาอาจารย์ โดย จุดเด่นของงานที่น่าสนใจคือพิธีการจัดงานในรูปแบบที่มีมนต์ขลัง พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชา ที่แต่งดามาถวายเครื่องคาวหวานในพิธีพลีกรรมบวงสรวง และยกขันตั้งไหว้ครูแบบพื้นเมือง ฟ้อนถวายมืออันวิจิตรตระการเพื่อเป็นคุรุบูชา การสู่ข้าวเอาขวัญนักศึกษาใหม่จากครูบาอาจารย์อาวุโส นับเป็นการเริ่มต้นของการเป็นนักศึกษาของชาววิจิตรศิลป์ การเคารพนบไหว้ที่เกิดจากความตั้งใจ ศรัทธาของบรรดาศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันคณะวิจิตรศิลป์ และเหล่าภาคีเครือข่ายพันธมิตรทางด้านศิลปวัฒนธรรมทุกภาคส่วน ตลอดจนทุกๆท่านที่รักและเชิดชู ร่วมกันสืบสานในงานศิลปวัฒนธรรมล้านนา งานสำคัญก่อนงานไหว้ครูของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ”พิธีเสี่ยงทายนางแก้วและจตุรเทพ” ซึ่งเป็นหนึ่งเรื่องที่นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ยึดถือปฏิบัติ-สร้างสรรค์ และกลั่นจากเรื่องสำคัญที่เรียนกันในวิชาต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงงาน Creative ที่คณะวิจิตรศิลป์ทำสืบเนื่องกันมา
ทั้งนี้ กำหนดการของงานไหว้ครู พิธีเสี่ยงทายนางแก้วและจตุรเทพ จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง
ติดตามข่าวสารกิจกรรมคณะวิจิตรศิลป์ที่เพจ
FB: https://www.facebook.com/FINEARTSCMU
ประเพณีรับน้องใหม่ขึ้นดอย
ประเพณีรับน้องขึ้น ประเพณีรับน้องที่อบอุ่นและมีมนต์สเน่ห์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี เป็นกิจกรรมรวบตัวนักศึกษาใหม่ นักศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาเก่า ครู อาจารย์ และผู้ที่มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาร่วมกิจกรรม เดินขึ้นดอยสุเทพ เป็นระยะทางกว่า 13 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างทุกคนจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลให้กำลังกัน ให้ก้าวผ่านความเหนื่อยความลำบาก เปรียบได้กับการศึกษาที่เราจะต้องบากบั่นทุ่มเท เพื่อให้สำเร็จลุล่วงเป้าหมายของการศึกษา
นอกจากความอบอุ่นและบรรยากาศของความเป็นพี่น้องในงานรับน้องขึ้นดอยแล้ว ในส่วนของคณะวิจิตรศิลป์ ก็ได้มีการเตรียมแต่งดาเครื่องสักการะพระธาตุรวมถึงผ้าห่มพระธาตุ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของน้องใหม่ปี 1 ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ครูบาอาจารย์และเครือข่ายผู้รักในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม
ในส่วนของกำหนดการรับน้องขึ้นดอยนั้น ทาง มช. จะได้ประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป
เตรียมพบกันในภาคการศึกษาที่ 1 /2566 ราวๆ เดือนกันยายน
ติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมขึ้นดอย มช. ได้ที่
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา และ Open House
กิจกรรมทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำเสนอต่อนักเรียนและผู้ปกครองที่สนใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วยการแนะนำหลักสูตรต่างๆ
กำหนดจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ ที่ 1 – 2 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมการแนะนำหลักสูตรหรือ OPEN HOUSE ของ มช.ได้ที่
https://tlp.eqd.cmu.ac.th/openhouse/
https://www.facebook.com/CMUopenhouse/
โครงการ ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
ความเป็นมาของลูกทุ่งวิจิตรศิลป์นั้น เกิดขึ้นมาจากนักศึกษาในรุ่นก่อนต้องการหารายได้เพื่อมาใช้ภายในคณะ จึงเกิดการเล่นดนตรีแบบเปิดหมวกขึ้น โดยใช้เพลงลูกทุ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ต่อมาจึงขยายขอบเขตการจัดงานให้ใหญ่ขึ้น จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้มีการจัดงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ 2 ปี โดยมีการจัดงานมาแล้วทั้งหมด 14 ครั้ง ซึ่งได้โชว์ศักยภาพของนักศึกษา และบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเครื่องแต่งกายให้นักร้อง แดนเซอร์ ศิลปะทางด้านการแสดง ด้านการออกแบบท่าเต้นที่มีเอกลักษณ์ของลูกทุ่ง อีกทั้งนักดนตรีประกอบการแสดงก็เป็นนักศึกษาของคณะเอง กิจกรรมดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะวิจิตรศิลป์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อย่างมากมาย ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้ได้เห็นถึงความสำคัญของเพลงลูกทุ่ง นำบทเพลงในอดีตนำกลับมาร้องใหม่ให้ได้หวนระลึกถึงกัน ร่วมไปถึงสืบสานให้เพลงเหล่านั้นไม่สูญหายไป และสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ที่ได้มาชมเป็นอย่างมาก
แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องหยุดตัวลง รวมถึงกิจกรรมลูกทุ่งวิจิตรนี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คน คิดถึงงานคอนเสิร์ตลูกทุ่งสุดตระการตา ที่มาพร้อมกับหางเครื่องชาวคณะวิจิตรศิลป์ ที่แปลก แหวกแนว ที่น่าประทับใจจนลืมไม่ลง และตั้งตารอให้เกิดการจัดกิจกรรมนี้อีกครั้ง... และแล้วเวลานั้นก็ได้มาถึง...คอนเสิร์ตดนตรีลูกทุ่งแบบฉบับของ “ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์” ในตำนาน กลับมาท็อปฟอร์มอีกครั้ง โดยในอีกไม่กี่วันนี้จะจัดให้มีน้ำจิ้ม เพื่อเรียกน้ำย่อยกันก่อน ในงานบลูมส์บีท CHIANGMAI BLOOMS 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ ตอน " ลูกทุ่งเบิกบานตระการย้อยกิ่ง " ในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ สวนดอกไม้ i love flower farm อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ขอเชิญทุกท่านมาร่วมตบเท้าแต่งกายงามให้อลังการตระการย้อยกิ่ง มาเดินเรดคาเป็ตเข้าปาร์ตี้ที่มีแต่ธีม จะขับปอเช่เข้ามาในงานเพื่อความฟิ๊นฟิน ก็ไม่ว่ากันนะจ้ะ แล้วทุกท่านจะได้พบกับความสนุกสนานผ่านเสียงดนตรีลูกทุ่ง รูปแบบใหม่ แบบสับ เพลิดเพลินกับเสียงดนตรี จังหวะ และลีลา หางเครื่องอันเป็นเอกลักษณ์ เสพสมอารมณ์หมายคลายความเหงา ท่ามกลางสวนดอกไม้แสนสวย ไอเลิฟฟาวเวอฟาร์ม เมื่อซ้อมปากซ้อมคอในงานนี้เรียบร้อยแล้ว ก็รอพบกับลูกทุ่งวิจิตรของจริง ของใหญ่ ไม่จกตากัน รอติดตามกันได้ที่ เพจ ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือที่เฟสบุค
วันที่ 1 เมษายน 2566 หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Her's life ดนตรีป๊อปแจ๊สที่เล่าเกี่ยวกับชีวิตหญิงสาว แนวคิดของงานคือต้องการนำวิชาธีสิสมาต่อยอดและได้ศึกษาเรื่องการประพันธ์เพลงป๊อปแจ๊สของนาย ธนากร กาญจนสุกร์ จึงได้นำมาต่อยอดเป็นเพลงป๊อปแจ๊สของตัวนักศึกษาเองที่เล่าถึงชีวิตของผู้หญิงคนนึงผ่านเพลง ในเพลงแรกจะเล่าถึงชีวิตวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความสุขและความฝัน ในเพลงที่สองจะเล่าถึงชีวิตวัยรุ่นที่ต้องมาพบเจอว่าความสุขนั้นไม่ได้ง่ายเสมอไปไม่ได้เป็นแบบที่หวังในวัยเด็ก และในเพลงสุดท้ายจะเล่าถึงชีวิตวัยทำงานที่พูดถึงการยอมรับความจริงในชีวิต เป็นการแสดงละครที่ดัดแปลงมาจากบทละครต้นฉบับและใน the musical นั้น นักศึกษาทั้งแต่งบทละคร แต่งเพลง ออกแบบชุด ออกแบบไฟ ออกแบบท่าเต้น และทำการจัดการทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบของละครด้วยตัวของนักศึกษาเอง
หลักสูตรสาขาได้มีการจัดการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการสอนเรื่องการจัดไฟ พื้นฐานดนตรี การเรียนการแสดง การจัดการ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการแสดงทั้งสิ้น จะเรียนครอบคลุมในทุกแขนกของการแสดง เช่น ดนตรี คอสตูม เขียนบท ละครตะวันตก ละครเอเชีย และอื่นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ในงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้คิดวิเคราะห์ และออกแบบการแสดงที่ผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษามา และต่อยอดในอาชีพในอนาคตได้
วันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2566 ณ Think Park Chiang Mai
จำนวนผลงาน 19 ชิ้น
Project in Thai Art CMU 2023 แจ่มจรัส
1. Accessories Design
2. Fashion Design
3. Furniture Design
4. Packaging Design
5. Architecture
6. Media Art
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
เป็นหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะไทย วัฒนธรรมไทยล้านนา ครอบคลุมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนประวัติศาสตร์ศิลป์การ จัดการศิลปวัฒนธรรม อาศัยกระบวนการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติการณ์ การวิจัยและสร้างสรรค์สู่ การผลิตบัณฑิตทางศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีองค์ความรู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นนักนวัตกรรมสมัยใหม่
วันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2566 ณ บ้านอาจารย์เทพศิริ ซอยวัดอุโมงค์
จำนวนผลงานที่แสดง: 10 ผลงาน
วันที่ 31 มีนาคม ถึง 5 เมษายน 2023 เวลา 9 โมง ถึง 4 โมงเย็น (09.00-16.00 น.)
จำนวนผลงาน 55 ผลงาน (จำนวนผลงานทั้งหมดมากกว่า 50 ผลงาน)
ธีมงานจะพูดถึงยุค y2k ในปี 2000 โดยตัว y ย่อมาจากคำว่า year และ2k ที่แปลว่า 2000 และปีเกิดของนักศึกษาชั้นปี 4 ส่วนมากธีมงานจะเล่าเรื่องราวของนักศึกษาที่ติดเกาะออกแบบ ที่ต้องเอาตัวรอดจากอุปสรรคตลอดระยะเวลาที่ติดบนเกาะออกแบบมา 4 ปี
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ฝั่งออกแบบโพรดัก ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โพรดัก เซรามิก ฝั่งออกแบบแฟชั่น ได้แก่ แฟชั่น เทกไทล์ จิวเวอร์รี่ เป็นต้น มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญางานหัตถกรรมมาเป็นฐานในการออกแบบและฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษา เน้นการฝึกปฏิบัติทักษะเฉพาะทาง : ไม้, ผ้า, โลหะ, เซรามิก, ผลิตภัณฑ์ ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบทั้งในและต่างประเทศตลอดจนท้องถิ่นใน Studio ที่มีประสิทธิภาพมาตรฐานสากล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. อุสุมา พันไพศาล
Usuma Punpaisan
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
ศิลปะสื่อผสมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความหลากหลายทางเพศภายใต้แนวคิด "โลกของฉัน"
Mixed Media Art Inspired by Gender Diversity Under the Concept of "My World"
2. กฤษกรณ์ บัวเต้า
Kisskon Buatao
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
สิ่งลี้ลับและคุณค่าของความศรัทธา ผ่านศิลปะการจัดวาง
The Mystery and Value of Faith Installation Art
3. ปารย์ อิรนพไพบูลย์
Parn Iranoppaiboon
หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ :
ภูมิทัศน์ใจ : ศิลปะจัดวางเพื่อการรับรู้ถึงสภาวะความผ่อนคลาย
Soulscape : Installation Art for Awareness of Inner Relief
กำหนดการจัดแสดง กรกฎาคม 2566
ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้น 1
Link: https://www.facebook.com/people/PhD-Arts-Design-Fine-Arts-CMU/100057179330998/
กิจกรรมงานลาน INTER เหน็ด
กิจกรรมที่สโมสรนักศึกษาภายในธีม Y2K จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณลานหน้าคณะวิจิตรศิลป์ ประกอบด้วยตลาดนัดศิลปะที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจศิลปะเปิดบูทนำเสนอผลงานของตน และ กิจกรรมสันทนาการด้านดนตรีไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมรำวง ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และการแสดงดนตรีสดในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ในงานยังมีการแนะนำ “ลูกทุ่งวิจิตร” ที่ทุกคนรอคอย
ติดตามข้อมูลกิจกรรมได้ที่:
Link: https://www.facebook.com/people/Inter-เหน็ด/
มหกรรมดนตรีลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ 2566 ในงานบลูมส์บีท CHIANGMAI BLOOMS 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
ทีมงานลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ร่วมกับเทศกาล CHIANGMAI BLOOMS 2023 ร่วมจัดคอนเสิร์ตดนตรีลูกทุ่งในแบบฉบับของลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ในตำนานในงาน Blooms beat Chiang Mai blooms 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ 2566 ตอน "ลูกทุ่งเบิกบานตระการย้อยกิ่ง" วันที่เสาร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ สวนดอกไม้ i love flower farm อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
บัตรมีจำหน่ายแล้วที่ Eventpass เปิดระบบ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป พร้อมพิธีเปิดเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ และเริ่มกิจกรรมเชียงใหม่บลูมส์ 2023 เนื่องจากกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นเพียงส่วนนึงของการจัดหารายได้สมทบทุน ในการเฉลิมฉลอง 40 ปี ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ ของคณะวิจิตรศิลป์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ทางคณะผู้จัดงานจึงมีที่นั่งให้ทุกท่านที่สนใจเพียงแค่ 1,000 ที่
ลิ้งค์สำหรับขายบัตร https://tickets.eventpass.co/
#ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
อำนวยการผลิต Chiang Mai Blooms
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
TCEB Thailand Conventions
INDEED CREATION CO.,LTD
Link: https://www.facebook.com/lukthung.vijit
กิจกรรมรับน้องรถไฟ
กิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์ บรรยากาศอบอุ่นกิจกรรมแรกที่น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะได้เข้าร่วม โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสโมสรนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัย ร่วมกันต้อนรับน้องใหม่ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะจอดเทียบชานชาลาที่สถานีรถไฟลพบุรี สถานีรถไฟนครสวรรค์ สถานีรถไฟพิษณุโลกและสถานีรถไฟลำปาง ในแต่ละสถานีที่ขบวนรถไฟเคลื่อนผ่านจะจอดประมาณ 20 นาที นักศึกษาใหม่จะได้สัมผัสบรรยากาศความอบอุ่นของลูกช้างที่จะมีรุ่นพี่นักศึกษาเก่า มช. นำน้ำดื่ม ขนม อาหารและรอยยิ้ม ร่วมให้กำลังใจ รอส่งน้องๆ ในแต่ละจังหวัด เพื่อเดินทางสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นบรรยากาศความทรงจำของประเพณีรับน้องรถไฟที่ชาวลูกช้าง มช. มีให้กันอย่างเสมอมา
ในปีการศึกษา 2566 นี้ เราจะได้พบกับบรรยากาศนี้ก่อนเปิดเทอม 1 ในเดือนมิถุนายน
ส่วนกำหนดการทางการนั้น ทาง มช. จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วกันอีกครั้ง
ติดตามข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้ที่
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
พิธีไหว้ครูคณะวิจิตรศิลป์
สโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์จะได้ร่วมกันจัดงานยกขันตั้งไหว้ครูศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประจำทุกปี ด้วยบรรยากาศอันอบอุ่นในรูปแบบล้านนา รวมสายใยของศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ที่จะได้มาพบปะไหว้สาครูบาอาจารย์ โดย จุดเด่นของงานที่น่าสนใจคือพิธีการจัดงานในรูปแบบที่มีมนต์ขลัง พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชา ที่แต่งดามาถวายเครื่องคาวหวานในพิธีพลีกรรมบวงสรวง และยกขันตั้งไหว้ครูแบบพื้นเมือง ฟ้อนถวายมืออันวิจิตรตระการเพื่อเป็นคุรุบูชา การสู่ข้าวเอาขวัญนักศึกษาใหม่จากครูบาอาจารย์อาวุโส นับเป็นการเริ่มต้นของการเป็นนักศึกษาของชาววิจิตรศิลป์ การเคารพนบไหว้ที่เกิดจากความตั้งใจ ศรัทธาของบรรดาศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันคณะวิจิตรศิลป์ และเหล่าภาคีเครือข่ายพันธมิตรทางด้านศิลปวัฒนธรรมทุกภาคส่วน ตลอดจนทุกๆท่านที่รักและเชิดชู ร่วมกันสืบสานในงานศิลปวัฒนธรรมล้านนา งานสำคัญก่อนงานไหว้ครูของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ”พิธีเสี่ยงทายนางแก้วและจตุรเทพ” ซึ่งเป็นหนึ่งเรื่องที่นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ยึดถือปฏิบัติ-สร้างสรรค์ และกลั่นจากเรื่องสำคัญที่เรียนกันในวิชาต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงงาน Creative ที่คณะวิจิตรศิลป์ทำสืบเนื่องกันมา
ทั้งนี้ กำหนดการของงานไหว้ครู พิธีเสี่ยงทายนางแก้วและจตุรเทพ จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง
ติดตามข่าวสารกิจกรรมคณะวิจิตรศิลป์ที่เพจ
FB: https://www.facebook.com/FINEARTSCMU
ประเพณีรับน้องใหม่ขึ้นดอย
ประเพณีรับน้องขึ้น ประเพณีรับน้องที่อบอุ่นและมีมนต์สเน่ห์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี เป็นกิจกรรมรวบตัวนักศึกษาใหม่ นักศึกษาปัจจุบัน นักศึกษาเก่า ครู อาจารย์ และผู้ที่มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาร่วมกิจกรรม เดินขึ้นดอยสุเทพ เป็นระยะทางกว่า 13 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างทุกคนจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลให้กำลังกัน ให้ก้าวผ่านความเหนื่อยความลำบาก เปรียบได้กับการศึกษาที่เราจะต้องบากบั่นทุ่มเท เพื่อให้สำเร็จลุล่วงเป้าหมายของการศึกษา
นอกจากความอบอุ่นและบรรยากาศของความเป็นพี่น้องในงานรับน้องขึ้นดอยแล้ว ในส่วนของคณะวิจิตรศิลป์ ก็ได้มีการเตรียมแต่งดาเครื่องสักการะพระธาตุรวมถึงผ้าห่มพระธาตุ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของน้องใหม่ปี 1 ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ครูบาอาจารย์และเครือข่ายผู้รักในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม
ในส่วนของกำหนดการรับน้องขึ้นดอยนั้น ทาง มช. จะได้ประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป
เตรียมพบกันในภาคการศึกษาที่ 1 /2566 ราวๆ เดือนกันยายน
ติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมขึ้นดอย มช. ได้ที่
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา และ Open House
กิจกรรมทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำเสนอต่อนักเรียนและผู้ปกครองที่สนใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วยการแนะนำหลักสูตรต่างๆ
กำหนดจัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ ที่ 1 – 2 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมการแนะนำหลักสูตรหรือ OPEN HOUSE ของ มช.ได้ที่
https://tlp.eqd.cmu.ac.th/openhouse/
https://www.facebook.com/CMUopenhouse/
โครงการ ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์
ความเป็นมาของลูกทุ่งวิจิตรศิลป์นั้น เกิดขึ้นมาจากนักศึกษาในรุ่นก่อนต้องการหารายได้เพื่อมาใช้ภายในคณะ จึงเกิดการเล่นดนตรีแบบเปิดหมวกขึ้น โดยใช้เพลงลูกทุ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ต่อมาจึงขยายขอบเขตการจัดงานให้ใหญ่ขึ้น จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้มีการจัดงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ 2 ปี โดยมีการจัดงานมาแล้วทั้งหมด 14 ครั้ง ซึ่งได้โชว์ศักยภาพของนักศึกษา และบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเครื่องแต่งกายให้นักร้อง แดนเซอร์ ศิลปะทางด้านการแสดง ด้านการออกแบบท่าเต้นที่มีเอกลักษณ์ของลูกทุ่ง อีกทั้งนักดนตรีประกอบการแสดงก็เป็นนักศึกษาของคณะเอง กิจกรรมดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะวิจิตรศิลป์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อย่างมากมาย ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้ได้เห็นถึงความสำคัญของเพลงลูกทุ่ง นำบทเพลงในอดีตนำกลับมาร้องใหม่ให้ได้หวนระลึกถึงกัน ร่วมไปถึงสืบสานให้เพลงเหล่านั้นไม่สูญหายไป และสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ที่ได้มาชมเป็นอย่างมาก
แต่จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องหยุดตัวลง รวมถึงกิจกรรมลูกทุ่งวิจิตรนี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลาย ๆ คน คิดถึงงานคอนเสิร์ตลูกทุ่งสุดตระการตา ที่มาพร้อมกับหางเครื่องชาวคณะวิจิตรศิลป์ ที่แปลก แหวกแนว ที่น่าประทับใจจนลืมไม่ลง และตั้งตารอให้เกิดการจัดกิจกรรมนี้อีกครั้ง... และแล้วเวลานั้นก็ได้มาถึง...คอนเสิร์ตดนตรีลูกทุ่งแบบฉบับของ “ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์” ในตำนาน กลับมาท็อปฟอร์มอีกครั้ง โดยในอีกไม่กี่วันนี้จะจัดให้มีน้ำจิ้ม เพื่อเรียกน้ำย่อยกันก่อน ในงานบลูมส์บีท CHIANGMAI BLOOMS 2023 X ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ ตอน " ลูกทุ่งเบิกบานตระการย้อยกิ่ง " ในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ สวนดอกไม้ i love flower farm อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ขอเชิญทุกท่านมาร่วมตบเท้าแต่งกายงามให้อลังการตระการย้อยกิ่ง มาเดินเรดคาเป็ตเข้าปาร์ตี้ที่มีแต่ธีม จะขับปอเช่เข้ามาในงานเพื่อความฟิ๊นฟิน ก็ไม่ว่ากันนะจ้ะ แล้วทุกท่านจะได้พบกับความสนุกสนานผ่านเสียงดนตรีลูกทุ่ง รูปแบบใหม่ แบบสับ เพลิดเพลินกับเสียงดนตรี จังหวะ และลีลา หางเครื่องอันเป็นเอกลักษณ์ เสพสมอารมณ์หมายคลายความเหงา ท่ามกลางสวนดอกไม้แสนสวย ไอเลิฟฟาวเวอฟาร์ม เมื่อซ้อมปากซ้อมคอในงานนี้เรียบร้อยแล้ว ก็รอพบกับลูกทุ่งวิจิตรของจริง ของใหญ่ ไม่จกตากัน รอติดตามกันได้ที่ เพจ ลูกทุ่งวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือที่เฟสบุค
ติดตามข้อมูลกิจกรรมได้ที่:
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
TCEB Thailand Conventions
INDEED CREATION CO.,LTD
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
FB: https://www.facebook.com/FINEARTSCMU
1. เพจสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.facebook.com/ChiangmaiUniversityStudentUnion/
2. เพจสโมสรนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ https://www.facebook.com/SMOFOFACMU/
https://tlp.eqd.cmu.ac.th/openhouse/
https://www.facebook.com/CMUopenhouse/
https://www.facebook.com/lukthung.vijit?locale=th_TH
นิทรรศการ "เสียงจากภาพ"
สาขาวิชาจิตรกรรม มีความยินดีขอเรียนเชิญทุกท่าน
ร่วมพิธิเปิดงานนิทรรศการ "เสียงจากภาพ"
ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.30 น.
ณ ศูนย์ศิลปะบ้านตึก (ถนนท่าแพ)
"เสียงจากภาพ" นิทรรศการโดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร และ สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการยุทธศาสต์ที่ 3 - 4 เพื่อนำเสนอผลงานของน้องๆ นักเรียนและนักศึกษา ทั้งสองสถาบัน ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานผ่านกิจกรรม Workshop ที่จัดขึ้น โดยมุ่งหวังให้ผลงานที่น้องๆได้ร่วมกันสร้างสรรค์จะเป็นอีกหนึ่งเสียงที่สื่อสารกับผู้คนผ่านผลงานศิลปะ
FB: Painting Division CMU สาขาวิชาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มช.