แผนยุทธศาสตร์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและศิลปะ ความเข้มแข็งด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและศิลปะ ความเข้มแข็งด้านการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ผู้รับผิดชอบ
- รองศาสตราจารย์ ดร.อัษฎา โปราณานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
- อาจารย์ ดร.สราวุธ รูปิน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
กลยุทธ์
- พัฒนาความเป็นเลิศทางองค์ความรู้และการสร้างสรรค์ศิลปะบนความต้องการของสังค
- บูรณาการหลักสูตรศิลปะทุกแขนงภายในคณะบนพื้นฐานศิลปะและวัฒนธรรม
- บูรณาการการเรียนการสอนกับหลักสูตรภายนอก แบบสหวิทยาการ
- ส่งเสริม สนับสนุนการรับทุนวิจัย วิจัยสร้างสรรค์ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
- ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรมทางด้านศิลปะสู่ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา
- สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตสู่สัมมาชีพ รับผิดชอบสังคม
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ บัณฑิตวิจิตรศิลป์มีคุณภาพทั้งด้านการศึกษาและทักษะการทำงาน เพื่อตอบสนอง
ความต้องการและเพิ่มโอกาสในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สังคม และวัฒนธรรม
ผู้รับผิดชอบ
- รองศาสตราจารย์ ดร.อัษฎา โปราณานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
- รองศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
กลยุทธ์
- บูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน
- ส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสำหรับการบรรลุสัมมาชีพ
- พัฒนาความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรผู้ประกอบการทั้งในท้องถิ่นและภายในประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ล้านนาสร้างสรรค์และศิลปะร่วมสมัย
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ศูนย์รวมความเป็นเลิศด้านล้านนาสร้างสรรค์พร้อมทำนุบำรุงและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ล้านนาสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมสู่สังคม
ผู้รับผิดชอบ
- รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
- รองศาสตราจารย์อุดม ฉิมภักดี ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
กลยุทธ์
- ส่งเสริมหอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีความเป็นมาตรฐาน ร่วมกับองค์กรภายนอกเพื่อพัฒนาเครือข่ายด้านศิลปะที่เอื้อต่อการบริการวิชาการแก่สังคม
- ส่งเสริมและสร้างแบรนด์ดิ้งความเป็นเลิศด้านล้านนาสร้างสรรค์และศิลปะร่วมสมัย
(Lanna Excellent Center) - ส่งเสริมล้านนาสร้างสรรค์ และศิลปะร่วมสมัยสู่เครือข่ายผู้ประกอบการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการเติบโตของคณะฯ อย่างยั่งยืนและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ พัฒนาและขับเคลื่อนคณะวิจิตรศิลป์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพันธ์ จันทร์หอม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน
- อาจารย์ ดร.สราวุธ รูปิน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
กลยุทธ์
- เสริมสร้างภาพลักษณ์ของคณะในฐานะศูนย์กลางความเป็นเลิศสำหรับชุมชนท้องถิ่นระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
- แสวงหาและวิเคราะห์ฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ
- มุ่งเน้นการรักษาอัตราคงอยู่และอัตราการสำเร็จการศึกษา เพื่อสนับสนุนความสำเร็จของนักศึกษา
- ส่งเสริมนักเรียน นักศึกษาที่มีศักยภาพด้วยการเพิ่มจำนวนทุนการศึกษา
- ผลักดันการบริหารองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างความมั่นคงทางการคลัง ความยั่งยืน และความพอเพียง
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์มีเสถียรภาพทางการเงินอย่างยั่งยืน ยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมั่นคง
ผู้รับผิดชอบ
- รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
กลยุทธ์
- การบริหารทรัพยากรเพื่อลดต้นทุน
- สร้างความคุ้มค่าคุ้มทุนของรายได้ (ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ต่อค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน
- พัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างคณะ ศิษย์เก่าและผู้สนับสนุนทุนภายนอก เพื่อระดมทุนสำหรับการศึกษา
- ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพื้นที่และสิ่งสนับสนุนภายในคณะวิจิตรศิลป์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ พัฒนาศักยภาพองค์กรภายในสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศ
ผู้รับผิดชอบ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพันธ์ จันทร์หอม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน
- รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
กลยุทธ์
- พัฒนาการสื่อสารองค์กรสร้างความสามัคคี
- พัฒนาและส่งเสริมทักษะศักยภาพคณาจารย์และบุคลากรเพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคดิจิทัล
- สร้างองค์กรแห่งความสุข ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ แก่บุคลากรและนักศึกษา
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน